การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9621
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2163 รหัสสำเนา 14713
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดนิกายชีอะฮฺจึงเป็นนิกายที่ดีที่สุด ?
คำถาม
เพราะเหตุใดนิกายชีอะฮฺจึงเป็นนิกายที่ดีที่สุด ? ผมเป็นคนหนึ่งที่ปฏิบัติตามแนวทางชีอะฮฺ, แต่ไม่รู้ว่าชีอะฮฺมีดีอะไรเมื่อเทียบกับนิกายวะฮาบียฺ ...ขออย่าเป็นเช่นนั้นว่าเราเป็นหนึ่งในมุสลิม 72 พวกที่หลงทาง? จะให้ผมมั่นใจได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

การที่นิกายชีอะฮฺดีที่สุดนั้นเนื่องจากความถูกต้องนั่นเอง ซึ่งศาสนาที่ถูกต้องนั้นจำกัดอยู่เพียงแค่ศาสนาเดียว ส่วนศาสนาอื่นๆ ที่มีอยู่บางศาสนาโดยพื้นฐานไม่ถูกต้อง บางศาสนาหลักการไม่ถูกต้อง บางศาสนาก็สมมุติขึ้นมา บางศาสนาถูกยกเลิกไปแล้ว ซึ่งทุกวันนี้บทบัญญัตที่ถูกต้อง, คือบทบัญญัติของอิสลาม, ซึ่งอิสลามที่แท้จริง อิสลามที่ถูกต้องถูกฉายออกมาในรูปแบบของชีอะฮฺเท่านั้น และเฉพาะคำสอนสั่งของชีอะฮฺเท่านั้น ที่สามารถอธิบายอิสลามมุฮัมมะดียฺให้ชัดเจนได้. หลักฐานทางประวัติศาสตร์และตำราศาสนาคือสิ่งสนับสนุนประเด็นนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งความพิเศษเหล่านั้นไม่อาจพบได้ในลัทธิวะฮาบีย

คำตอบเชิงรายละเอียด

สิ่งที่ยืนยันว่านิกายชีอะฮฺดีที่สุดหรือดีกว่า นิกายอื่นๆ คือความสัตย์จริงซึ่งศาสนาที่เที่ยงธรรมในแต่ละยุคสมัยจะมีเพียงศาสนาเดียว. อัลลอฮฺ ทรงประทานศาสนาลงมาในต่างยุคต่างสมัยซึ่งมีเพียงบทบัญญัติเดียวเท่านั้น และศาสนาอื่นนอกจากนั้นถือว่า ไม่ถูกต้องจะโดยพื้นฐานของศาสนาหรือประเด็นอื่น หรือบางศาสนาก็ถูกถอดถอนไปแล้ว และบางศาสนาก็เป็นเพียงสมมุติฐานเท่านั้น

ความหลากหลายของศาสนาแห่งพระเจ้าหรือศาสนาแห่งฟากฟ้า ซึ่งจวบจนถึงปัจจุบันนี้พระเจ้าได้ประทานลงมาแก่มนุษย์, มีความหลากหลายในแนวตั้ง มิใช่แนวนอน, หมายถึงศาสนาใหม่ได้มายกเลิกหรือทำให้ศาสนาเก่าก่อนหน้านั้นมีความสมบูรณ์ หรือการมาของศาสนาใหม่บ่งบอกให้เห็นว่า ศาสนาเก่าหมดอายุการใช้งานแล้ว ซึ่งจะถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ซึ่งแทนที่ตนด้วยศาสนาใหม่ และเป็นความจำเป็นสำหรับทุกคนที่จะต้องปฏิบัติตามและศรัทธาต่อศาสนาใหม่นั้น. ด้วยเหตุผลนี้เองในหลักการของศาสนาบริสุทธิ์ สำหรับบุคคลที่ไม่ศรัทธาในศาสนาใหม่นั้นจึงอยู่ในฐานะของผู้ปฏิเสธศรัทธา

อิสลามในฐานะที่เป็นศาสนาสุดท้าย จึงเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุดที่ถูกส่งลงมาสำหรับมนุษย์ชาติทั้งหลาย และอัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่ทรงตอบรับศาสนาใด นอกจากอิสลาม ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่าแท้จริงศาสนา  อัลลอฮฺคือ อิสลาม[1]ไม่ต้องสงสัยเลยว่า อิสลาม จึงเป็นศาสนาเดียวที่ถูกยอมรับ  พระองค์ อัลกุรอานกล่าวอีกว่าและผู้ใดแสวงหาศาสนาใดอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นจะไม่ที่ยอมรับจากเขาเป็นอันขาด[2]

น่าเสียดายว่าบรรดามุสลิมก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากบรรดาบรรพชนก่อนหน้านั้น ผู้เป็นเจ้าของศาสนาหลากหลายในอดีต พวกเขาได้แบ่งออกเป็นนิกายต่างๆ มากมาย และแน่นอนว่าเหล่านั้นต้องไม่เหมือนกัน และไม่ใช่ว่าทั้งหมดจะถูกต้องไปทั้งหมดด้วย, ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า :

"ان امّتی ستفرق بعدی علی ثلاث و سبعین فرقة، فرقة منها ناجیة، و اثنتان و سبعون فی النار"؛

แท้จริงประชาชาติของฉันภายหลังจากฉัน จะแตกออกเป็น 73 พวก, ซึ่งมีอยู่พวกเดียวในหมู่พวกเขาเท่านั้น ที่ได้รับการช่วยเหลือ ส่วนที่เหลือ 72 พวกล้วนเป็นชาวนรกทั้งสิ้น[3] นิกายที่ถูกต้องและได้รับการช่วยเหลือจากนิกายต่างๆคือ นิกายชีอะฮฺสิบสองอิมามหรือตะชัยยุอ์นั่นเอง,ดุจดังเช่นอิสลามที่ถูกต้องและสัจจริง. ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า :

"ایها الناس انی ترکت فیکم ما ان اخذتم به لن تضلوا، کتاب الله و عترتی اهل بیتی"؛

โอ้ ประชาชนเอ๋ย แท้จริงฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่ของพวกท่าน ถ้าหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้น จะไม่มีวันหลงทางเด็ดขาด,ได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอิตรัตอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน[4] (ทายาทของนบี)

ท่านอบูซัร ฆัฟฟารียฺ สหายผู้อาวุโสท่านหนึ่งของศาสดา (ซ็อล ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่ง กล่าวว่า :

"سمعت النبی (ص) انه قال: الا ان مثل اهل بیتی فیکم مثل سفینة نوح فی قومه، من رکبها نجی و من تخلف عنها غرق"؛

พึงรู้ไว้เถิด ฉันได้ยินจากท่านเราะซุล (ซ็อล ) กล่าวว่า : อุปมาอะฮฺลุลบัยตฺของฉันในหมู่พวกท่าน ประหนึ่งเรือของศาสดานูฮฺท่ามกลางหมู่ชนของเขา, ใครก็ตามลงเรือนั้นเขาก็จะได้รับความช่วยเหลือ และบุคคลใดผละออกจากเรือ เขาก็จะจมน้ำตาย[5]

รากฐานของนิกายชีอะฮฺคือ, เตาฮีด อัดล์ นุบูวัต อิมามะฮฺ และมะอาด, ชีอะฮฺเชื่อโดยหลักการว่า อิมามทั้ง 12 ท่านเป็นมะอฺซูม (บริสุทธิ์) ในฐานะที่เป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งคนแรกในหมู่พวกเขาคือ อิมามอะลี (.) ส่วนคนสุดท้ายในหมู่พวกเขาคือ มะฮฺดียฺ (.)

มีรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวถึงจำนวนและแม้แต่นามของอิมามทั้ง 12 ท่านเอาไว้, วันหนึ่งอับดุลลอฮฺ บุตรของมัสอูด ได้นั่งอยู่ในหมู่สหายทั้งหลาย เวลานั้นได้มีอาหรับชนทบคนหนึ่งเดินเข้ามา และได้ถามขึ้นว่าในหมู่พวกท่านใครืคือ อับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูดหรือ? อับดุลลอฮฺ ตอบว่า : ฉันเอง, อาหรับคนนั้นกล่าวต่อไปอีกว่า : ศาสดาของท่านมิได้บอกผู้แทนภายหลังจากเขาสำหรับพวกท่านดอกหรือ? กล่าวว่า : ใช่ ท่านบอกไว้ว่า : จำนวนของพวกเขามี 12 คน อันเป็นจำนวนหมู่ดวงดาวของวงศ์วานบนีอิสราเอล[6]

เหตุผลของเราที่ยืนยันว่า นิกายชีอะฮฺ ดีที่สุดคือ อัลกุรอานและรายงานฮะดีซ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีรับสั่งแก่เราไว้ในอัลกุรอานว่า ให้พวกเราเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ เราะซูล และอูลิมอัมริ ซึ่งตามคำอธิบายของท่านเราะซูล (ซ็อล ) หมายถึง บรรดาอิมามทั้ง 12 ท่านของชีอะฮฺ. อัลกุรอานจำนวนหลายโองการได้เน้นย้ำถึงเรื่อง อิมามะฮฺและวิลายะฮฺเอาไว้ เช่น โองการที่กล่าวว่า :

"و انذر عشیرتک الاقربین"؛

จงประกาศแก่เครือญาติชั้นใกล้ชิด

"انما ولیکم الله و رسوله و المؤمنون الذین یقیمون الصلاة و یؤتون الذکوة و هم راکعون"،

อันที่จริง ผู้ปกครองพวกเธอนั้นคืออัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์และบรรดาผู้มีศรัทธาที่ดำรงไว้การนมาซ และชําระซะกาต และขณะเดียวกันพวกเขาก็เป็นผู้ก้มรุกูอฺ

"یا ایها الرسول بلغ ما انزل الیک من ربک و ان لم تفعل فما بلغت رسالته"،

โอ้ ศาสนทูต! จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เธอจากพระผู้อภิบาลของเธอ และถ้าเธอไม่ได้ปฏิบัติ เธอก็ไม่ได้ประกาศสาส์นของพระองค์

"الیوم اکملت لکم دینکم و اتممت علیکم نعمتی و رضیت لکم الاسلام دیناً"ً،

วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกเธอสมบูรณ์เพื่อพวกเธอ และฉันได้ทำให้ความโปรดปรานของฉันที่มีต่อพวกเธอนั้นบริบูรณ์ และฉันได้เลือกให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกเธอ

"انما یرید الله لیذهب عنکم الرجس اهل البیت"، و ... .

อัลลอฮฺ ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสโครกออกไปจากพวกเจ้า โอ้ อะฮฺลุลบัยตฺ

ท่านศาสดา (ซ็อล ) โดยการบันทึกไว้ทางประวัติศาสตร์และนักรายงานฮะดีซทั้งหลายว่า ท่านได้ประกาศแต่งตั้งท่านอะลี (.) ในฐานะที่เป็นตัวแทนของท่านแก่ประชาชน, ดังที่ฏ็อบรียฺได้บันทึกไว้ในหนังสือของตนว่า เมื่อโองการอิงซอรจงประกาศแก่เครือญาติชั้นใกล้ชิดถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวแก่เครือญาติของท่านว่า :อัลลอฮฺ ทรงมีบัญชาแก่ฉันว่า ให้เชิญชวนพวกท่านไปสู่พระองค์, ดังนั้น พวกท่านคนใดก็ตามได้ช่วยเหลือฉันในภารกิจดังกล่าวนี้ เขาจะเป็นทั้งพี่น้องและตัวแทนของฉันในหมู่พวกท่าน, อะลี (.) กล่าวว่า : ฉันเอง โอ้ เราะซูลแห่งอัลลอฮฺ ฉันจะเป็นผู้ช่วยเหลือท่านในภารกิจดังกล่าว, ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้จับหัวไหล่ของอะลี (.) แล้วกล่าวว่า : แท้จริง อะลีคนนี้คือพี่น้องของฉัน และเป็นตัวแทนของฉันในหมู่พวกท่าน ดังนั้น พวกท่านจงเชื่อฟังปฏิบัติตามเขาเถิด, ขณะนั้นเครือญาติของท่านศาสดาต่างหัวเราะเย้ยหยัน บางคนได้ลุกขึ้นแล้วหันหน้าไปทางอบูฏอลิบกล่าวเชิงเย้ยหยันว่าเขาได้สั่งให้ท่านเชื่อฟังปฏิบัติตามบุตรชายของท่านเอง[7]

ในช่วงบั้นปลายอายุขัยของท่านศาสดา (ซ็อล ),ช่วงกลับจากการทำฮัจญฺซึ่งรู้จักกันดีในนามของ ฮัจญฺตุลวะดา, เมื่อเดินทางมาถึงเขตแดนหนึ่งนามว่า เฆาะดีร ท่านได้ประกาศแต่งตั้งอะลี (.) อย่างเป็นทางการในฐานะของอิมามของมุสลิมทั้งหลาย และเป็นตัวแทนของท่านภายหลังจากท่าน และท่านได้กำชับบรรดามุสลิมที่อยู่กันพร้อมหน้าว่า ให้มอบสัตยาบันแก่อะลี ในฐานะที่เป็นผู้นำมวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย ซึ่งคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ) อันเป็นที่ประจักษ์ในวันนั้นคือ :

"من کنت مولاه فهذا علی مولاه"

ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีผู้นี้ก็เป็นผู้ปกครองของเขาด้วยรายงานฮะดีซบทนี้เป็นฮะดีซที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ที่สุดในอิสลาม

และนี่คือภาพรวมอันเป็นเหตุผลที่ยืนยันถึงความที่ดีที่สุด และความจริงของนิกายชีอะฮฺที่มีต่อนิกายอื่น จากด้านในดังคำกล่าวของรายงานฮะดีซ และอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามยังสามารถยกเหตุผลจากภายนอกที่กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ หรือนำเอาคำสั่งสอนของนิกายชีอะฮฺ ไปเปรียบเทียบกับนิกายอื่น เมือนั้นท่านก็จะพบความจริงว่า นิกายที่ดีกว่าคือนิกายใด?

ส่วนประเด็นเกี่ยวกับ วะฮาบียฺ เพียงพอแล้วถ้าได้ศึกษาข้อเขียนของ ซัยยิด มุซเฏาะฟา ระฎะวี ในหนังสืออิฏลาอาต ซิยาซี วะ มัซฮับบี ปากิสถานซึ่งวะฮาบีย์ เชื่อว่านิกายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนิกายในซุนนียฺ หรือนิกายชีอะฮฺ ทั้งหมดคือ มุชริกีน เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา และเคารพรูปปั้นบูชาทั้งสิ้น, การขอดุอาอฺ การไปซิยาเราะฮฺกุบูรของท่านศาสดา (ซ็อล ) ท่านอิมามอะลี (.) และอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านอื่น ล้วนเป็นบิดอะฮฺทั้งสิ้น และเป็นหนึ่งในการเคารพรูปปั้นบูชา ซึ่งในทัศนะของวะฮาบีย์ การแสดงออกเช่นนั้น เป็นฮะรอม, พวกเขาเชื่อว่าการกล่าวสลาม การให้เกียรติ และการแสดงความเคารพต่อท่านศาสดา (ซ็อล ) นอกเหนือจากในนมาซแล้ว ไม่อนุญาตให้กระทำทั้งสิ้น, การสิ้นอายุขัยของท่านศาสดาบนโลกนี้ ถือเป็นเกียรติยศสูงสุดสำหรับท่านแล้ว ดังนั้น การสร้างหรือตบแต่งสุสานของศาสดา (ซ็อล ) หรืออิมามท่านอื่นๆ ล้วนเป็นบิดอะฮฺ พวกเขาเชื่อว่าท่านเราะซูล (ซ็อล ) เป็นสามัญชนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น ท่านไร้ความสามารถ และมีความอ่อนแอเหมือนสามัญชนทั่วไป ไม่ได้มีอะไรวิเศษไปกว่านี้ ท่านไม่สามารถรับรู้ถึงสภาพของเราและโลกที่เราอยู่ ด้วยเหตุนี้, การไปซิยาเราะฮฺสุสานนบีจึง ฮะรอม[8]

ขอให้สติปัญญาอันชาญฉลาดของท่านเป็นเครื่องตัดสินว่า คำสอนเหล่านี้สามารถเข้ากับสติปัญญาและธรรมชาติของมนุษย์ได้หรือไม่? และสิ่งนี้คือความรักที่มีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ ในฐานะที่เป็นรางวัลของการเผยแผ่ของศาสดากระนั้นหรือ[9] อัลกุรอาน มิได้สั่งแก่เราหรือว่า บรรดาชะฮีดทั้งหลายยังมีชีวิตอยู่จงอย่าได้คิดเป็นอันขาดว่าบรรดาผู้ที่ถูกฆ่าในทางของอัลลอฮฺนั้นตาย หามิได้! พวกเขายังมีชีวิตอยู่  พระผู้อภิบาลของพวกตน ในสภาพที่ได้รับปัจจัยยังชีพ[10] ฐานะของท่านศาสดา (ซ็อล ) ต่ำกว่าบรรดาชุฮะดากระนั้นหรือ?



[1] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน,19

[2] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน, 85

[3] อัลอะบานะตุลกุบรอ,อิบนุ บัฏเฏาะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 3, คิซอล, หน้า 585

[4] กันซุลอุมาล, เล่ม 1, หน้า 44, บทอัลอิอฺติซอม บิลกิตาบวัลซุนนะฮฺ

[5] อัลมุสตัดร็อก อะลัซเซาะฮีฮัยนฺ, เล่ม 3, หน้า 151

[6] คิซอล, หน้า 467

[7] ตารีคฏ็อบรียฺ, เล่ม 2, หน้า 320,พิมพ์ที่อียิปต์, กามิล อิบนุ อะซีร, เล่ม 2, หน้า 41, พิมพ์ที่ เบรูต

[8] ซัยยิด มุซเฏาะฟา,ระฎะวียฺ, อิฏลาอาต ซิยาซี วะ มัซฮับบี ปากิสถาน, หน้า 63-64

[9] "قُلْ لا أَسْئَلُکُمْ عَلَیْهِ أَجْراً إِلاَّ الْمَوَدَّةَ فِی الْقُرْبى"‏،จงกล่าวเถิด ฉันไม่ได้ขอร้องค่าตอบแทนใด ๆ เพื่อการนี้เว้นแต่เพื่อความรักใคร่ในเครือญาติ (อัชชูรอ,23)

[10] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน,169

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...