การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5799
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2645 รหัสสำเนา 14711
คำถามอย่างย่อ
ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
คำถาม
ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อน แต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วย ส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับ หรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้น จำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย

คำตอบเชิงรายละเอียด

ปัญหาดังกล่าวอาจเป็นออกได้หลายกรณีดังต่อไปนี้

1.หนึ่งในคู่กรณีได้อ้างเรื่องความสงบว่า มีการบีบบังคับเกิดขึ้น และอีกฝ่ายหนึ่งปฏิเสธเรื่องการบีบบังคับ

2. อีกฝ่ายหนึ่งสารภาพว่าได้บีบบังคับและขู่กรรโชกจริง

3. อีกฝ่ายหนึ่งนิ่งเงียบ และกล่าวว่า ฉันไม่รู้เรื่อง

ในกรณีแรก คำพูดของผู้ปฏิเสธการบีบบังคับขู่เข็ญ ต้องมาก่อน เนื่องจากตรงกับหลักของความถูกต้องในการกระทำของมุสลิม؛ เพราะว่าทั้งสองหลักการคือการยอมรับการเกิดจริงของความถูกต้อง เพียงแต่ฝ่ายหนึ่งกล่าวว่า ประเด็นได้เกิดตามความเป็นจริงถูกต้องแล้ว ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งกล่าวว่า โมฆะ ไม่ถูกต้อง ซึ่งโดยหลักการแล้วคือ ประเด็นได้เกิดจริงและถูกต้องตามความเป็นจริงด้วย ไม่มีการบังคับขู่เข็ญใดๆ ทั้งสิ้น[1] เว้นเสียแต่ว่ามีผู้อ้างว่ามีการบีบบังคับขู่เข็ญได้นำพยานมายืนยันด้วย และได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีการบีบบังคับจริง

คำตัดสินของปัญหานี้สามารถค้นหาคำตอบได้จากการวิพากในหลักอุซูล หรือตำราด้านนิติศาสตร์อิสลาม เช่น ท่านมุฮักกิก ฮิลลียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ชะรอยิอฺ อิสลาม ภายใต้หัวข้อความขัดแย้งระหว่างผู้ขายทั้งสองฝ่าย กล่าวว่า :

ข้อที่สี่ : เมื่อเขากล่าวกับท่านว่า ฉันขายทาสให้กับท่าน, ดังนั้น เขากล่าวว่า ทว่าจงเป็นอิสระเถิด หรือกล่าวว่า ยินดีด้วย, ดังนั้น กล่าวอีกว่า ฉันยกเลิกสัญญาก่อนที่จะแยกจากกัน โดยบีบบังคับอีกฝ่ายให้ยอมรับ ฉะนั้น ความถูกต้องจึงอยู่กับผู้ที่อ้างถึงความถูกต้องในข้อตกลงด้วยทาสนั้น ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งต้องนำพยานมายืนยัน[2]

แต่ในกรณีที่สองนั้น กฎข้อนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้ว ซึ่งในกรณีการสารภาพของฝ่ายตรงข้ามว่ามีการบีบบังคับเกิดขึ้นจริง ข้อตัดสินที่ตัดสินไปแล้วไม่ค่าอันใดทั้งสิ้น ทว่าตามกฎหมายอาญาในอิสลาม สำหรับผู้บังคับขู่เข็ญมีการลงโทษอย่างแน่นอน

มาตราที่ 668 บรรพ์ที่ 22, ตามประมวลกฎหมายอาญาและการลงโทษในอิสลามระบุว่า : บุคคลใดก็ตามได้บังคับขู่เข็ญ หรือขู่กรรโชกคนอื่นให้กระทำการเขียน หรือเซ็นชื่อ หรือลงตราประทับ หรือเขียนหลักฐานปลอม โดยพลาดพิงไปยังเขา หรือนำสิ่งที่มอบให้แก่เขากลับคืนมา จะถูกตัดสินให้จำคุก 3 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี และต้องถูกเฆี่ยน 74 ครั้ง[3]

แต่ในกรณีที่ 3 มีหลายประเภทที่ต่างกัน ดังนั้น โปรดศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ[4]



[1]  แต่อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาได้ตัดสินเพื่อประโยชน์ของตนเอง ต้องอ้างความถูกต้อง และต้องสาบานด้วย หรือไม่ได้กล่าวอ้างแต่ได้ตัดสินเข้าข้างตัวเอง

[2]  ชะรอยิอฺ อัลอิสลาม, หน้า 287,288

[3] ฮุจญฺตียฺ อัชรอฟฟี,ฆุลามริฎอ, ประมวลกฎหมายอาญาและการลงโทษฉบับสมบูรณ์

[4] อิมามโคมัยนี, อัตตะรีรุลวะซีละฮฺ เล่ม 2, หน้า 383-354

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    10492 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า
  • สตรีสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในโลกไซเบอร์โดยไม่ขออนุญาตจากสามีหรือไม่?
    5807 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบของบรรดามัรยิอ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีดังนี้อายาตุลลอฮ์คอเมเนอี “หากไม่จำเป็นที่จะต้องครอบครองทรัพย์สินของสามีก็ถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตแต่จะต้องคำนึงว่าการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมส่วนใหญ่จะทำให้เกิด... หรืออาจจะทำให้ตกในการกระทำบาปซึ่งไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ซิซตานี “การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมถือว่าไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ศอฟีกุลฟัยกานี “โดยรวมแล้วการติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้แม้ว่าสามีอนุญาติก็ไม่ถือว่าสามารถจะกระทำได้”ฮาดาวีเตหะรานี “หากการติดต่อสื่อสารในโลกไซเบอร์อยู่ในขอบเขตที่อนุญาตและไม่เกรงที่จะเกิดบาปเป็นที่อนุญาตและไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาติจากสามี” ...
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    8608 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล
  • “ศอดุกอติฮินนะ” และ “อุญูริฮินนะ” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    7820 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/08
    คำว่า “ศอดุกอติฮินนะ”[1] มีการกล่าวถึงในประเด็นของการแต่งงานถาวร และได้กล่าวว่าสินสอดนั้นเป็น “ศิด้าก”[2] อายะฮ์ที่คำดังกล่าวปรากฏอยู่นั้น บ่งบอกถึงสิทธิที่สตรีจะต้องได้รับ และย้ำว่าสามีจะต้องจ่ายค่าสินสอดของภรรยาของตน[3] นอกจากว่าพวกนางจะยกสินสอดของนางให้กับเขา[4] นอกจากนี้คำนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัจจะและความจริงใจในการแต่งงานด้วยเช่นกัน[5] ส่วนคำว่า “อุญูริฮินนะ”[6] หมายถึงการแต่งงานชั่วคราวและที่เรียกกันว่า “มุตอะฮ์” นั้นเอง และกล่าวว่า “จะต้องจ่ายมะฮัรแก่สตรีที่ท่านได้แต่งงานชั่วคราวกับนางเนื่องจากสิ่งนี้เป็นวาญิบ”[7] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8993 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    8075 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    18228 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • มีหลักฐานอนุญาตให้มะตั่มให้แก่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือทำร้ายตัวเองของมุสลิมในช่วงเดือนมุฮัรรอม หรือเดือนอื่นหรือไม่?
    8328 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/12/21
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุดและการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรมถือว่าอนุญาต, เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง, หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรงซึ่งการทุบอก
  • เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
    11146 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน ...
  • เหตุใดจึงตั้งชื่อซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ด้วยนามนี้?
    7834 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ถูกตั้งชื่อด้วยนามนี้เนื่องจากในซูเราะฮ์นี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของบะก็อร(วัว)ของบนีอิสรออีลระหว่างอายะฮ์ที่ 67-71 หลายต่อหลายครั้ง เช่น وَ إِذْ قالَ مُوسى‏ لِقَوْمِهِ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَذْبَحُوا بَقَرَةً قالُوا أَ تَتَّخِذُنا هُزُواً قالَ أَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجاهِلين‏"؛ (และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง (เพื่อนำชิ้นอวัยวะของวัวไปแตะศพที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สังหารได้ เพื่อให้ศพฟื้นคืนชีพและชี้ตัวผู้ต้องสงสัย อันเป็นการยุติความขัดแย้งในสังคมยุคนั้น) พวกเขากล่าวว่า “ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ?” มูซากล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขล่าเบาปัญญา)[1] และเนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขัดเกลาของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตั้งชื่อด้วยนามนี้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60574 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58161 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42686 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40096 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39311 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34426 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28499 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28408 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28342 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...