Please Wait
7888
จากคำกล่าวของอัลกุรอาน ชัยฏอนมาจากหมู่ญิน ซึ่งญินนั้นมีภารกิจหน้าที่เช่นเดียวกับมนุษย์
ตามคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) : ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานถึง 6,000 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นปีทางโลกหรือปีของปรโลก (ซึ่งหนึ่งวันของปรโลกเท่ากับ 1,000 ปี).ซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่และความการุณย์ที่มีต่ออิบลิสก็คือ ประการแรก มารได้ประสบความสำเร็จในการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ สอง เนื่องจากอิบาดะฮฺอย่างมากมายมหาศาลทำให้มารได้ยกระดับชั้นเทียบเท่ามลาอิกะฮฺ ซึ่งสิทธิพิเศษที่มารได้รับการช่วยเหลือก็คือ มารได้นั่งในชั้นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งเงื่อนไขของความสะอาดของพวกเขา และเป็นหนึ่งในระบบทางโลกก็คือ บุคคลใดก็ตามที่รู้จักมากระดับชั้นของหน้าที่ก็จะสูงตามไปด้วย, แต่ถ้าผิดพลาดเมื่อใดก็จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง
ด้วยเหตุนี้เอง หลังจากเหตุผลเกี่ยวกับชัยฏอนได้สมบูรณ์แล้ว ซึ่งเขาได้แสดงความจองหองในเรื่องราวเกี่ยวกับอาดัม อัลลอฮฺจึงกล่าวกับมารอย่างรุนแรงด้วยความโกรธกริ้ว ซึ่งทำให้ระดับชั้นของมารต่ำลงมา
เมื่อพิจารณาอัลกุรอาน เช่น โองการที่ 50 บทอัลกะฮฺฟ์ หรือโองการที่ 31 บทฮิจญฺร์ ได้บทสรุปว่า ชัยฏอน (อิบลิส) มาจากหมู่ชนของญิน แต่เนื่องจากการอิบาดะฮฺจำนวนมากมาย ชัยฏอนจึงได้ถูกเลื่อนชั้นให้ทัดเทียมมลาอิกะฮฺ. เรื่องราวเกี่ยวกับความจองหองอวดดีของชัยฏอน (บททดสอบที่มีต่อมาร) มีประมาณ 7 เรื่องด้วยกันที่ปรากฏในอัลกุรอาน ซึ่งแต่ละบทได้ให้บทเรียนอันสูงส่งแก่มวลมนุษย์ ซึ่งจะขอระบุเรื่องราวเหล่านั้นไว้เป็นส่วนดังนี้ :
- อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ซัจญฺดะฮฺอาดัม (อ.)
- ความแตกต่างอันพิเศษของอาดัมที่มีเหนือพวกเขา.อัลลอฮฺจึงมีบัญชาให้ซัจญฺดะฮฺอาดัม
- อิบลิส ดื้อรั้นไม่ยอมซัจญฺอาดัม
- คำตอบของอิบลิส อธิบายถึงสาเหตุของความจองหอง: “กล่าวว่า ข้าฯจะไม่กราบมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างเขาจากดินแห้ง แห่งตมดำขึ้นเป็นรูปร่าง”[1]
หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวว่า "ข้าฯ ประเสริฐกว่าเขา เพราะพระองค์ได้ทรงบังเกิดข้าฯจากไฟ และได้ทรงบังเกิดเขาจากดิน”[2]
และนี่คือการทดสอบอันยิ่งใหญ่ ทั้งที่ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺมานานหลายพันปี ดังคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่ว่า : ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานถึง 6,000 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นปีทางโลกหรือปีของปรโลก (ซึ่งหนึ่งวันของปรโลกเท่ากับ 1,000 ปี).[3]
แต่หลังจากการทดสอบแล้วชัยฏอนได้กลายเป็นสิ่งมีอยู่ที่เลวและต่ำทรามที่สุด อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสกับมารว่า “ดังนั้นเจ้าจงออกไปจากที่นี่แท้จริงเจ้าเป็นผู้ถูกขับไล่”[4] “แท้จริง การสาปแช่งจะมีแก่เจ้า ตราบจนกระทั่งวันแห่งการตอบแทน”[5] ตรงนี้เองที่เราต้องระมัดระวังตัวเป็นอย่างดี ใคร่ครวญเสมอว่า หากอัลลอฮฺทรงประทานความสัมฤทธิผลแก่เรา และเราได้ก้าวเดินไปบนหนทางที่ถูกต้องเพียงชั่วประเดี๋ยวเดียว ซึ่งจำเป็นต้องรักษาระดับความดีนั้นไว้อย่างมั่นคง เนื่องจากโลกอยู่ท่ามกลางการล่มสลายและการเปลี่ยนแปลง. มนุษย์เราตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น สมควรอย่างยิ่งที่จะใช้เวลาให้ผ่านพ้นไปบนความถูกต้อง เพราะเป็นไปได้ที่วิกฤติจะผันแปรไปสู่ความตกต่ำ ด้วยเหตุนี้เอง เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องวอนขอต่ออัลลอฮฺ ให้พระองค์โปรดทรงทำให้บั้นปลายสุดท้ายของเราดีเสมอ. ในทางตรงกันข้ามชัยฏอนหลังจากได้ถูกขับไล่แล้ว และพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาจริงจังเสียแล้ว และมารได้ตกจากตำแหน่งอันสูงส่งที่ตนเคยได้รับ ไปสู่ความต่ำต้อยด้วยสาเหตุเพียงแค่ตนไม่ยอมซัจญฺดะฮฺอาดัมตามบัญชาของอัลลอฮฺ. ทำให้เกิดความอาฆาตแค้นและอคติในใจที่มีต่ออาดัมมาโดยตลอด มารกล่าวว่า : “พระองค์ทรงเห็นแล้วมิใช่หรือ เขาผู้นี้ที่พระองค์ทรงให้เกียรติมากกว่าข้าฯ หากพระองค์ทรงได้โปรดประวิงเวลาแก่ข้าฯ จนถึงวันกิยามะฮฺ แน่นอนข้าฯจะทำลายล้างลูกหลานของเขาให้หมดสิ้น เว้นแต่เพียงเล็กน้อย (ที่ข้าไร้สามารถในการทำลาย)”[6]
อัลกุรอาน บางโองการ กล่าวว่า ...”ขอสาบานด้วยอำนาจของพระองค์ ข้าฯจะลวงให้พวกเขาหลงทางทั้งหมด”[7]
ตามคำอธิบายของบทนำเบื้องตนเป็นที่ประจักษ์ว่า หนึ่ง : ชัยฏอนมารร้ายมาจากหมู่ชนของญิน. และพวกเขาต่างมีหน้าที่เหมือนกับมนุษย์ “ดังนั้น จงกราบคารวะต่ออาดัม พวกเขาก็กราบคารวะ เว้นแต่อิบลิส”[8] “ข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์เพื่อการใด นอกเสียจากเพื่อแสดงความเคารพภักดีต่อข้า”[9]
ญินเป็นหนึ่งในชัยฏอนที่คงเหลืออยู่ มารได้ปาวนาตนไปอยู่บนหนทางสองแพ่ง ซึ่งจำเป็นต้องเลือกทางหนึ่งทางใด ถ้าหากมารยอมรับความจริงเขาย่อมได้รับรางวัลตอบแทน แต่ถ้าเขาเลือกสิ่งไม่ถูกต้องย่อมได้รับการลงโทษแน่นอน. โองการที่ 56 บทอัซซารียาต ที่กล่าวมาได้บ่งบอกให้เห็นว่า ญินและมนุษย์มีส่วนร่วมในเรื่องอิบาดะฮฺ ประกอบกับอัลกุรอานได้กล่าวคำพูดของญินว่า พวกเขาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกล่าวคือญินที่ดีและไม่ดี : “แท้จริง ในหมู่พวกเรามีคนดีและคนไม่ดี และพวกเราอยู่ในกลุ่มที่แตกต่างกัน”[10]
สอง : ความเมตตาและความการุณย์อันยิ่งใหญ่ที่สุดเกี่ยวอิบลิสก็คือ อันดับแรกอิบบลิสประสบความสำเร็จได้ประกอบอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ สอง : เนื่องจากอิบลิสได้อิบาดะฮฺอย่างมากมาย จึงถูกยกระดับให้ทัดเทียมกับมลาอิกะฮฺ จนกระทั่งว่าพวกเขาได้อยู่ในระดับชั้นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งอัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องราวการซัจญฺดะฮฺที่มีต่ออาดัม ซึ่งมารได้อยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺแต่มารมิได้มาจากหมู่มลาอิกะฮฺ อัลกุรอาน กล่าวว่า “ดังนั้น มลาอิกะฮฺทั้งหมดได้ก้มกราบ เว้นแต่อิบลีส ได้ปฏิเสธที่จะอยู่ร่วมกับบรรดาผู้กราบ”[11] สิทธิอันยิ่งใหญ่สุดในการช่วยเหลือชัยฏอน (อิบลิส) ก็คือ มารได้ถูกยกระดับให้อยู่ร่วมกับมวลมลาอิกะฮฺ ได้รับความสะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งเงื่อนไขประการหนึ่งหนึ่งในระบบการสร้างก็คือ บุคคลใดก็ตามที่รู้จักมากระดับชั้นหน้าที่ก็จะสูงตามไปด้วย, แต่ถ้าผิดพลาดเมื่อใดก็จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ เหตุผลได้สมบูรณ์แล้ว (เนื่องจากได้อิบาดะฮฺและอยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺ) เรื่องราวเกี่ยวกับชัยฏอน ซึ่งมารได้แสดงความโอหังไม่กราบอาดัมตามบัญชา และได้กล่าวกับอาดัมด้วยคำพูดรุนแรง อัลลอฮฺทรงพิโรธยิ่งทรงปล่อยให้เขาตกต่ำและทรงลงโทษอย่างสาหัส
[1] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์, 33.
[2] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ 12.
[3] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, ตัสฮีฮฺ ซุบฮิซอลิฮฺ, คำเทศนากอซิอะฮฺ, หน้า 287.
[4] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์, 34.
[5] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์, 35.
[6] อัลกุรอาน บทอัสรออฺ, 62.
[7] มุฮัมมัด ตะกี มิซบาฮฺ ยัซดี, มะอาริฟกุรอาน, ภาคที่ 2, หน้า 299, มุอัซเซะเซะ ดัรเราะเฮฮัก.
[8] อัลกุรอาน บทอัลกะฮฺฟฺ, 50.
[9] อัลกุรอาน บทซารียาต, 56.
[10] อัลกุรอาน บทญิน, 11
[11] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์, 31.