การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6326
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1444 รหัสสำเนา 16136
คำถามอย่างย่อ
จริงหรือไม่ที่บางคนเชื่อว่าพระเจ้าเป็นเพียงแค่พลังงานเท่านั้น?
คำถาม
จริงหรือไม่ที่บางคนเชื่อว่าพระเจ้าเป็นเพียงแค่พลังงานเท่านั้น?
คำตอบโดยสังเขป

อัลลอฮ์ทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาสิ่งใด ทรงปรีชาญาณ ทรงมีเจตน์จำนง และปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการ แต่พลังงานยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดมากมาย อีกทั้งยังปราศจากความรู้และการตัดสินใจ
เมื่อเทียบคุณสมบัติของพลังงานกับคุณลักษณะของพระเจ้า ก็จะทราบว่าพระเจ้ามิไช่พลังงานอย่างแน่นอน เนื่องจาก:
พลังงานคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดกริยาและปฏิกริยาต่างๆ โดยพลังงานมีลักษณะที่หลากหลายไม่ตายตัว และสามารถผันแปรได้หลายรูปแบบ พลังงานมีคุณสมบัติเด่นดังนี้
1. พลังงานมีสถานะตามวัตถุที่บรรจุ
2. พลังงานมีแหล่งกำเนิด
3. พลังงานมีข้อจำกัดบางประการ
4. พลังงานเปลี่ยนรูปได้
แต่อัลลอฮ์มิได้ถูกกำกับไว้โดยวัตถุใดๆ ไม่มีแหล่งกำเนิด ไม่มีข้อจำกัด และไม่เปลี่ยนรูปแบบ กุรอานก็กล่าวถึงอัลลอฮ์ว่าพระองค์ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด และปราศจากข้อบกพร่องและข้อจำกัดทุกประการ
จากการเปรียบเทียบข้างต้น จะทำให้เข้าใจอย่างง่ายดายว่าพระเจ้ามิไช่พลังงาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

เบื้องต้นเราจะนิยามความหมายของพลังงาน พร้อมทั้งอธิบายถึงคุณสมบัติเฉพาะของพลังงาน แล้วจึงเปรียบเทียบคุณสมบัติดังกล่าวกับคุณลักษณะของพระเจ้า (โดยอาศัยข้อมูลเชิงวิชาการจากวิชาฟิสิกข์ โองการกุรอาน และเหตุผลทางสติปัญญาจากวิชาเทววิทยา) ท้ายที่สุดก็จะนำเสนอข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็นนี้

นิยามของพลังงาน
พลังงาน (Energy) หมายถึง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงาน (Work) พลังงานมีรูปแบบที่ไม่ตายตัว และสามารถเปลี่ยนรูปจากรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบอื่นได้[1]

คุณสมบัติเฉพาะของพลังงาน
เมื่อพิจารณาถึงคำนิยามข้างต้น รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่แหล่งอ้างอิงทางวิชาการระบุไว้[2] ทำให้ทราบได้ว่าพลังงานมีคุณสมบัติเฉพาะดังต่อไปนี้
1. พลังงานต้องมีแหล่งกำเนิด (source) และเกิดจากกระบวนการทางฟิสิกข์หรือเคมีเสมอ
2. พลังงานได้รับอิทธิพลจากวัตถุ (อาทิเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ที่เคยเข้าใจกันว่าไม่ได้เกิดจากวัตถุ แต่ในความเป็นจริงก็เกิดจากปฏิกริยาทางเคมีระหว่างองค์ประกอบต่างๆ)[3]
3. พลังงานสามารถแปรเป็นค่าได้ พลังงานทุกประเภทเมื่อพิจารณาถึงแหล่งกำเนิด จะมีขนาด(ความใหญ่)และมาตรวัด (Dimension)เฉพาะตัว
4. พลังงานยังมีข้อจำกัดบางประการอยู่ (อย่างเช่นพลังงานแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงเท่านั้น และไม่สามารถส่องผ่านวัตถุทึบแสงได้)
5. พลังงานสามารถเปลี่ยนแปลงรูปได้ (อย่างเช่นพลังงานศักย์ของสปริงที่ถูกกดไว้จะกลายเป็นพลังงานจลน์เมื่อปล่อยอิสระ หรือพลังงานศักย์ของน้ำในเขื่อนที่จะก่อให้เกิดพลังงานจลน์ขับเคลื่อนไดนาโม) นักฟิสิกข์ชั้นนำอย่างไอนสไตน์ก็พิสูจน์แล้วว่าวัตถุสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงาน และพลังงานก็เปลี่ยนเป็นวัตถุได้[4]

เปรียบเทียบคุณสมบัติพลังงานกับคุณลักษณะของพระเจ้า
เมื่อพิจารณาคุณสมบัติข้างต้น แล้วนำมาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะของอัลลอฮ์ดังที่กุรอานและตำราหลักศรัทธาที่มีชื่อเสียงกล่าวไว้[5] เราจะพบว่าคุณสมบัติของพลังงานกับคุณลักษณะของอัลลอฮ์ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เนื่องจากพระเจ้าทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาสิ่งใด ทรงปรีชาญาณ ทรงมีเจตน์จำนง และบริสุทธิ์ปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการ แต่พลังงานยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดมากมาย อีกทั้งยังปราศจากความรู้และการตัดสินใจ
ฉะนั้น พระเจ้าจึงไม่ได้รับอิทธิพลจากวัตถุ ไม่มีแหล่งกำเนิด(source) ไม่สามารถคำนวนเป็นค่าเชิงปริมาณ และไม่เปลี่ยนรูปแบบ

กุรอานอธิบายว่า อัลลอฮ์ทรงไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด ปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการ
จะเห็นได้จากการที่กุรอานใช้คำว่าอัลลอฮุศศ่อมัด[6] ซึ่งแปลว่าอัลลอฮ์ผู้ไม่ทรงต้องพึ่งพาสิ่งใด แสดงว่าพระองค์ไม่มีแหล่งสถิต เพราะการมีแหล่งสถิตหมายถึงจะต้องพึ่งพาสถานที่นั้นๆ
โองการข้างต้นยังชี้ให้เห็นอีกว่าพระองค์มิได้เป็นผลของเหตุใดๆ และไม่จำเป็นต้องมีแหล่งกำเนิด แต่ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลต่างหากที่ต้องพึ่งพาพระองค์ พระองค์คือปฐมเหตุ ดังที่อิมามอลี(.)ได้อรรถาธิบายคำว่าเศาะมัดไว้ว่าหมายถึงพระองค์ไม่ไช่ทั้งนามและรูป ไม่มีสิ่งใดเทียบเคียงและเสมอเหมือนพระองค์ ไม่มีรูปลักษณ์และเรือนร่าง ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่ ไม่ไช่พลังงานแสงหรือความมืด ไม่ไช่วิญญาณหรือจิต และไม่มีปริมาตรใดจะจุพระองค์ไว้ได้[7]

โองการและฮะดีษที่นำเสนอข้างต้นชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างพระเจ้ากับพลังงาน และสนับสนุนเหตุผลทางสติปัญญาที่กล่าวไปแล้ว
กุรอานกล่าวไว้ว่าพระองค์มีอำนาจครอบคลุมทุกสิ่ง[8] ฉะนั้นจึงไม่มีอุปกรณ์ใดสามารถที่จะคำนวนค่าเชิงปริมาณแก่พระองค์ได้ เพราะพระองค์ทรงเหนือกว่าทุกอุปกรณ์
อีกโองการหนึ่งกล่าวว่าพระองค์ทรงมีอำนาจเหนือทุกสิ่ง[9] ซึ่งพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าพระองค์ไม่มีข้อจำกัดใดๆทั้งสิ้น
อีกโองการหนึ่งระบุไว้ว่าสูเจ้าไม่อาจพบความผันแปรในจารีตของพระองค์พิสูจน์ได้ว่าพระองค์ไม่มีความผันแปร เนื่องจากผู้ที่ไม่ผันแปรเท่านั้นที่จะมีจารีตอันมั่นคง

ข้อพึงสังเกตุ
ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าแสงถือเป็นรูปหนึ่งของพลังงาน บางคนจึงนำไปเทียบกับอัลลอฮ์ เนื่องจากอัลกุรอานกล่าวว่าพระองค์เปรียบประดุจรัศมี[10] จึงต้องศึกษานัยยะของโองการที่กล่าวเช่นนี้จากตำราอรรถาธิบายกุรอาน
ตัฟซี้รอัลมีซานกล่าวว่า รัศมีในที่นี้ หมายถึงผู้สร้างสากลจักรวาลรัศมีของอัลลอฮ์หมายถึง การที่ทุกแสงสีที่มีอยู่บังเกิดขึ้นโดยพระองค์ และนี่ก็คือความเมตตาในระดับสาธารณะและครอบคลุมทุกสิ่ง[11]
ส่วนตัฟซี้รนู้รกล่าวว่า รัศมีที่กล่าวในกุรอาน หมายถึงการชี้นำและแจ้งเตือน เนื่องจากอัลลอฮ์เสมือนรัศมีอันนิรันดร์ที่ชี้นำอย่างชัดแจ้งสำหรับโลกนี้ ดังที่กล่าวว่าیهدی الله بنوره ...”(อัลลอฮ์ทรงชี้นำโดยรัศมีของพระองค์)[12]
อีกคำอธิบายหนึ่งก็คือ การมีอยู่ของอัลลอฮ์เปรียบเสมือนรัศมีสาดส่องให้ชั้นฟ้าและผืนดินมีชีวิตชีวา เนื่องจากว่า หากพระองค์ทรงระงับความการุณย์ของพระองค์ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาลจะดับสูญลงทันที
หรือหากจะอิงนิยามหนึ่งของแสงที่ว่า แสงคือสิ่งที่ชัดเจนด้วยตัวเอง และเผยให้เห็นสิ่งรอบข้าง ก็สามารถเปรียบได้กับคุณลักษณะของพระองค์ที่ทรงมีอยู่โดยพระองค์เอง และสร้างสากลจักรวาลให้มีอยู่[13]
ผลลัพท์ที่ได้จากการเปรียบเทียบระหว่างพลังงานกับพระเจ้าก็คือ ทั้งสองมีความแตกต่างโดยสิ้นเชิง ทำให้ไม่อาจจะถือว่าพระเจ้าเป็นพลังงานเนื่องจากพลังงานยังมีข้อจำกัดหลายประการ ขณะที่อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงสมบูรณ์แบบทั้งด้านปรีชาญาณ พลานุภาพ ฯลฯ แต่พลังงานไม่ว่าจะประเภทใดล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น และไม่อาจนำมาเปรียบกับพระองค์ได้เลย อย่างไรก็ดี หากพบการเทิดไท้พระองค์ในฐานะรัศมี ก็จำเป็นต้องได้รับการตีความดังที่ได้กล่าวไปแล้ว



[1] สารานุกรมนานาชาติ encyclopedia international,เล่ม 6,หน้า 432

[2] ดู: ฟิสิกข์ฮอลิดี,หน้า 148-163,การทำงานและพลังงาน

[3] พลังงานที่เกิดจากดวงอาทิตย์ได้มาจากปฏิกริยาหลอมรวมตัวระหว่างอะตอมไฮโดรเจน H ก่อให้เกิดโมเลกุลไฮโดรเจน H2

[4] ตามสูตร (มวล x พลังงาน) C* E=mC.

[5] ดังที่นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์ฉบับฟัยฏ์ฯ,หน้า 14, และ อัลอัสฟ้าร,เล่ม 6,หน้า 139, อิมามอลีกล่าวว่า
من قرنه فقد ثناه و من ثناه جز ئه ومن جزئه فقد جهلهผู้ใดเทียบเคียงพระองค์กับสิ่งอื่น เท่ากับถือว่าพระองค์เป็นสอง และหากถือว่าพระองค์เป็นสอง เท่ากับถือว่าพระองค์มีองค์ประกอบ และหากถือว่าพระองค์มีองค์ประกอบ ก็ถือว่าเขาโง่เขลาแต่พลังงานมีทั้งองค์ประกอบและศักยภาพในการผสมผสาน ซึ่งขัดต่อคุณลักษณะของพระองค์โดยสิ้นเชิง ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ อัลกอวลุสสะดี้ด ฟี ชัรฮิ้ตตัจรี้ด,หน้า 274,เป็นต้นไป

[6] ซูเราะฮ์อิคลาศ, 2

[7] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 3,หน้า 230

[8] وکان الله بکل شیی محیطا ,อัลอัมบิยา,126

[9] ان لله علی کل شیی قدیر, อัตตะห์รีม,8

[10] " الله نور السماوات و الارض ..., นู้ร,35

[11] نوره تعالی من حیث یشرف منه نور العالم الذی یشیر به کل شیی و هو الرحمة العامه, ตัฟซี้รอัลมีซาน,เล่ม 15,หน้า 122.

[12] ตัฟซี้รนู้ร,เล่ม 8,หน้า 185 (ปรับเปลี่ยนเล็กน้อย)

[13] ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ฉบับย่อ,เล่ม 3,หน้า 297. อธิบายโองการที่ ซูเราะฮ์ นู้ร.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7489 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6575 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย
  • ในเมื่อการกดขี่เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว เหตุใดอิมามมะฮ์ดี (อ.) จึงยังไม่ปรากฏกาย
    6293 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เมื่อคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้จะทำให้เราค้นหาคำตอบได้ง่ายยิ่งขึ้น1.     เราจะเห็นประโยคที่ว่าیملأ الارض قسطا و عدلا کما ملئت ظلما و جورا" ในหลายๆฮะดิษ[1] (ท่านจะเติมเต็มโลกทั้งผองด้วยความยุติธรรมแม้ในอดีตจะเคยคละคลุ้งไปด้วยความอยุติธรรม) สิ่งที่เราจะเข้าใจได้จากฮะดีษดังกล่าวก็คือ
  • ทัศนะของอัลกุรอาน เกี่ยวกับความประพฤติสงบสันติของชาวมุสลิม กับศาสนิกอื่นเป็นอย่างไร?
    14546 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    »การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติของศาสนาต่างๆ« คือแก่นแห่งแนวคิดของอิสลาม อัลกุรอานมากมายหลายโองการ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกล่าวโดยตรงสมบูรณ์ หรือกล่าวเชิงเปรียบเปรย ทัศนะของอัลกุรอาน ถือว่าการทะเลาะวิวาท การสงคราม และความขัดแย้งกัน เนื่องจากแตกต่างทางความเชื่อ ซึ่งบางศาสนาได้กระปฏิบัติเช่นนั้น เช่น สงครามไม้กางเกงของชาวคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ อิสลามห้ามการเป็นศัตรู และมีอคติกับผู้ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และถือว่าวิธีการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ที่มีต่อศาสนาอื่น มิใช่วิธีการของศาสนา อัลกุรอาน ได้แนะนำและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ด้วยแนวทางต่างๆ มากมาย แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่สุด อาทิเช่น : 1.ความเสรีทางความเชื่อและความคิด 2.ใส่ใจต่อหลักศรัทธาร่วม 3.ปฏิเสธเรื่องความนิยมในเชื้อชาติ 4.แลกเปลี่ยนความคิดด้วยสันติวิธี
  • จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    12491 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา. ...
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    8982 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • เราสามารถที่จะใช้เงินคุมุสที่เกิดขึ้นจากการออมทรัพย์เพื่อการซื้อบ้านได้หรือไม่?
    5448 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ก่อนที่จะตอบคำถามของคุณจะต้องกล่าวว่า: ตามทัศนะของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมาคอเมเนอีเงินออมจากกำไรของผลประกอบการนั้นแม้จะเป็นการออมเพื่อใช้ชำระในชีวิตประจำวันแต่เมื่อถึงปีคุมุสแล้วจะต้องชำระคุมุสนอกจากได้มีการออมเพื่อซื้อของใช้จำเป็นในชีวิตหรือค่าใช้ชำระจำเป็น
  • เป็นไปได้ไหมที่จะอธิบาย อัรบะอีน, อิมามฮุซัยนฺ ให้ชัดเจน?
    8315 تاريخ بزرگان 2555/05/20
    เกี่ยวกับพิธีกรรมอัรบะอีน, สิ่งที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรฒศาสนาของเรา, คือการรำลึกถึงช่วง 40 วัน แห่งการเป็นชะฮาดัตของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซัยยิดุชชุฮะดา ซึ่งตรงกับวันที่ 20 เดือนเซาะฟัร, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้กล่าวถึงสัญลักษณ์ของผู้ศรัทธา »มุอฺมิน« ไว้ 5 ประการด้วยกัน กล่าวคือ : การดำรงนมาซวันละ 51 เราะกะอัต, ซิยารัตอัรบะอีน, สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวา, เอาหน้าซัจญฺดะฮฺแนบกับพื้น และอ่านบิสมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม ในนมาซด้วยเสียงดัง[1] ทำนองเดียวกันนักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ,พร้อมกับอุฏ็อยยะฮฺ เอาฟีย์ ประสบความสำเร็จต่อการเดินทางไปซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากถูกทำชะฮาดัตในช่วง 40 วันแรก
  • สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    6631 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก” ...
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    12008 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59625 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57021 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41834 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38639 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38535 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33630 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27443 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27286 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25344 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...