การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6284
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/04/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2379 รหัสสำเนา 13581
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
คำถาม
เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
คำตอบโดยสังเขป

จากการศึกษาเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์อิสลามและประวัติความเป็นมาของ ค่าปรับ จะเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความจำกัดพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของ เศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะ วัตถุประสงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการชดเชยสิ่งที่เสียหายไป อีกด้านหนึ่งในสังคมซึ่งอิสลามได้พยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ หรือพยายามสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมหลังของสังคมด้านเศรษฐศาสตร์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสังคม กล่าวคือ อิสลามได้มองเรื่องเศรษฐศาสตร์ภาพรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชาย ทำให้ได้รับผลอย่างหนึ่งว่า ผู้ชายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบางหน้าที่ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการละเว้นเอาไว้ ขณะที่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดสำหรับสตรีคนหนึ่งคือ การจัดระบบและระเบียบเรื่องค่าใช้จ่ายและการเป็นอยู่ของครอบครัว

ถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบในบทความนี้ท่านผู้อ่านสมารถเข้าใจเหตุผลได้อย่างง่ายดายว่า อิสลามได้ให้การสนับสนุนภารกิจหนึ่ง ที่มีผลในทางเศรษฐศาสตร์สำหรับผู้ชาย และหนึ่งในนั้นคือเรื่องค่าปรับ หรือค่าชดเชย ตามหลักคำสอนของอสิลามถ้าหากพิจารณาถึงหน้าที่และบทบาทของฝ่ายชายในแง่ของรายได้ของครอบครัว ประกอบกับการพิจารณาถึงเรื่องค่าปรับและค่าชดเชย นั้นเกี่ยวข้องกับกายภาพของมนุษย์โดยตรง ฉะนั้น ในแง่ของรายได้ถ้าร่างกายมีความแข็งแรงมากเท่าใด ค่าชดเชยย่อมมีอัตรามากตามไปด้วย และเนื่องจากฝ่ายชายคือผู้รับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายของครอบครัว หรืออาจกล่าวได้ว่าชายคือผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของครอบครัว ดังนั้น ค่าชดเชยของชายจึงต้องมากกว่าฝ่ายหญิง สิ่งนี้มิได้หมายความว่าอิสลามได้ให้เกียรติผู้ชายสูงส่งกว่าผู้หญิง เนื่องจากถ้าจะกล่าวถึงในแง่ของเกียรติยศหรือคุณค่าของมนุษย์แล้วละก็ จะไม่มีวันเท่าเทียมกับเลยในเรื่องของค่าชดเชยระหว่างนักวิชาการ นักคิด ปักปราชญ์ หรือผู้นำศาสนา และนักการเมืองคุณภาพ กับบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือคนงานธรรมดาคนหนึ่ง

อีกประเด็นหนึ่งบทบาทเรื่องความปลอดภัยของผู้ชายคนหนึ่งในครอบครัว เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าโดยทั่วไปแล้วผู้ชายนั่นเองที่เป็นผู้นำพาความสงบสุขมาสู่ครอบครัว เป็นผู้ปกป้องความปลอดภัยของครอบครัวโดยไม่ให้มีบุคคลอื่นมาระราน ด้วยเหตุนี้ โดยธรรมชาติแล้ว ถ้าหากจะเกิดความเสียหายขึ้นกับครอบครัวในกรณีที่ไม่มีผู้ชายย่อมมีเสียหายมากกว่าการไม่มีผู้หญิง

และแล้วประเด็นสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ สำหรับประเด็นที่กำลังกล่าวถึงนี้ ได้มีบทบัญญัติทางศาสนาเป็นตัวกำกับไว้ด้วย บนพื้นฐานทางความคิดและคำสอนของศาสนานั้นได้ให้ความสำคัญแก่บุรุษเอาไว้ ประกอบกับทัศนะต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับประเด็นข้างต้น ด้วยเหตุนี้ ประเด็นเกี่ยวกับค่าปรับหรือค่าสินไหมในอิสลาม จึงได้ถูกบัญญัติขึ้นตามพื้นฐานหน้าที่หลักซึ่งได้มอบไว้ตามเจตนารมณ์เสรีของบุรุษและสตรี ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงกฎเกณฑ์โดยทั่วไปที่มีเหนือระบบครอบครัว อิสลามจึงได้วางกฎนี้ออกมา ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่สามารถคัดค้านได้เลยว่าบทบัญญัติของอิสลามไม่เข้ากันกับสติปัญญา หรือว่าเป็นการเอาเปรียบฝ่ายหญิงแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

บทบัญญัติทั้งหมดของอิสลามวางอยู่บนพื้นฐานของสิ่งถูกต้อง และความเสียหายอันเฉพาะด้วยความมั่นคง ซึ่งสำหรับทุกๆ กฎเกณฑ์ย่อมมีวิทยปัญญาอันเฉพาะ และสำหรับทุกการร่างบทบัญญัติย่อมมีความดีและสิ่งถูกต้องควบคู่เสมอไป ถ้าหากอิสลามได้ห้ามมนุษย์จากสิ่งหนึ่ง ก็เนื่องจากว่าสิ่งนั้นมีความเสียหายร่วมอยู่อย่างแน่นอน ขณะเดียวกันถ้าอิสลามได้มีบัญชาให้กระทำสิ่งหนึ่งก็เนื่องจากว่าสิ่งนั้นมีความดีงามแอบแฝงอยู่ แน่นอนว่าการที่เราจะติดตามความดีและไม่ดีของทุกบทบัญญัตินั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่จะมีกฎโดยรวมวางไว้เพื่อช่วยให้เราได้สัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว นั่นคือ สติปัญญาสมบูรณ์ หรือความจริงภายนอก และคำอธิบายของบรรดาผู้นำบริสุทธิ์ (.) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญทำให้เราได้เข้าใจถึงมุมมองหนึ่งของบทบัญญัติเหล่านั้น ดังนั้น การที่อิสลามได้บัญญัติว่า ค่าชดเชย หรือค่าปรับ หรือค่าสินไหมของสตรีนั้นน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นย่อมมีวิทยปัญญาซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ว่า

1) ถ้าหากอิสลามเป็นศาสนาแห่งวัตถุโดยสมบูรณ์ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่วัตถุปัจจัย เศรษฐกิจ และทรัพย์สินเป็นหลัก เวลานั้นได้กำหนดว่า ค่าชดเชยของสตรีน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่ง ตรงนี้ข้อท้วงติงที่ว่าเป็นการลดคุณค่าของสตรีให้น้อยไปจากบุรุษ เพราะเหตุใดราคาของสตรีจึงมีค่าเพียงครึ่งหนึ่งของบุรุษ จึงจะสมจริง ขณะที่อิสลามถือว่าคุณค่าของมนุษย์นั้นอยู่ที่จิตวิญญาณและจิตด้านในที่มีความสมบูรณ์ของพวกเขา สิ่งที่อิสลามได้ให้ความสำคัญมากที่สุดคือมาตรฐานของคุณค่าอันได้แก่ ความสำรวมตนจากบาป มนุษย์สามารถเป็นเยี่ยงศาสดามูซา (.) หรือท่านหญิงมัรย้ม (.) ที่สามารถติดต่อกับอัลลอฮฺ (ซบ.) โดยผ่านวะฮฺยูก็ได้ สตรีและบุรุษที่อยู่ในหนทางของการแสวงหาความจำเริญ และการได้รับตำแหน่งอันสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณ มีความเท่าเทียมกันไม่ได้มีความแตกต่างกันแม้แต่น้อยระหว่างบุรุษและสตรี ซึ่งขึ้นอยู่กับความอดทนและความพยายามของแต่ละบุคคล 

แต่เรื่องค่า ชดเชย เป็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่องรายได้ ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับร่างกายมนุษย์ ด้วยเหตุผลนี้เองจึงมีความแตกต่างกันระหว่างค่าชดเชยของผู้นำประเทศ กับพลเมืองที่เป็นคนงานธรรมดาคนหนึ่ง[1]

2) ในมุมมองหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า มนุษย์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือสตรีมี 3 ลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้

2.1 ความสูงส่งในความเป็นมนุษย์ ประเด็นนี้ไม่มีความแตกต่างกันทั้งบุรุษและสตรี ประกอบกับหนทางที่จะมุ่งไปสู่ความเป็นมนุษย์แห่งพระเจ้านั้น ก็ไม่มีความจำกัดแต่อย่างใดหนทางเปิดกว้างสำหรับทั้งสองเสมอ

อัลกุรอานบทอันนะฮฺลุ โองการที่ 97 กล่าวว่าผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้มีศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี แน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของ พวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้

อัลกุรอาน บทอะฮฺซาบ โองการที่ 35 ก็ได้ถึงความหมายดังกล่าวไว้เช่นกัน

2.2 ในแง่ของความรู้ ในมุมมองนี้เช่นกันไม่มีความแตกต่างกันระหว่างบุรุษและสตรี อิสลามไม่เคยให้ความแตกต่างในการแสวงหาความรู้ทั้งบุรุษและสตรี รายงานฮะดีซกล่าวว่า 

"طلب العلم فریضة على کل مسلم و مسلمة".

การแสวงหารความรู้เป็นข้อบังคับสำหรับมุสลิมทุกคนทั้งบุรุษและสตรี[2]

อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างบุรุษและสตรีในการแสวงหาความรู้ หรือในแง่ของความรู้ ซึ่งมีโองการกล่าวโดยรวมถึงประเด็นเหล่านี้เกินกว่า 40 โองการด้วยกัน

2.3 ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ระหว่างสตรีและบุรุษตามทัศนะของอิสลามจากรายงานฮะดีซ หน้าที่ด้านนี้มีความแตกต่างกัน เนื่องจากหน้าที่นี้วางอยู่บนพื้นฐานความสามารถ ศักยภาพ และพลังของร่างกาย ซึ่งได้จัดแบ่งไว้แล้วตามลักษณะของจิตวิญญาณระหว่างสตรีและบุรุษ สตรีนั้นในแง่ของการแบกรับภาระด้านเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าบุรุษ แม้ว่าในแง่ของไหวพริบและสติปัญญาทางด้านเศรษฐศาสตร์อาจเท่าเทียมหรือดีกว่าบุรุษก็ตาม แต่การแบกรับภาระอันหนักอึ้งนี้เธออ่อนแอกว่า แม้แต่ในสังคมตะวันตกที่มีค่านิยมและแสดงความเห็นว่าว่าบุรุษและสตรีเท่าเทียมกัน ก็ให้การยอมรับว่าการแบกรับภาระอันหนักอึ้งนี้สตรีอ่อนแอกว่าบุรุษ

ตามความเป็นจริงแล้วสตรีมีหน้าที่หลักคือ การให้กำเนิดบุตร เธอต้องตั้งครรภ์และหลังจากคลอดบุตรแล้วเธอต้องให้นมลูก ต้องคอยดูแลปกปักรักษาและคอยเลี้ยงดูจนกว่าจะเติบโต ดังนั้น ช่วงเวลาตั้งครรภ์และการให้นมนั้นได้บั่นทอนความสามารถของสตรีไปไม่น้อย พลังงานและเวลาของเธอได้ถูกใช้ไปเป็นจำนวนมาก แม้ว่าภารกิจนี้โดยตัวของมันแล้วเป็นงานใหญ่ และมีคุณค่าอันมหาศาล แต่อย่างไรก็ตามงานด้านเศรษฐกิจนั้นต่างไปจากสิ่งที่กล่าวมา อีกด้านหนึ่งโครงสร้างทางกายภาพของสตรีและบุรุษนั้นมีความแตกต่างกัน สตรีนั้นมีร่างกายและโครงสร้างที่อ่อนแอพร้อมที่จะรับผลกระทบและความเสียหายต่างๆ ได้สูง ขณะที่โครงสร้างด้านร่างกายของบุรุษมีความแข็งแรงกว่า มีความอดทนกับความลำบาก และเหมาะสมกับงานหนักต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลนี้เองการงานและอาชีพส่วนใหญ่ในสังคมจึงมีความเหมาะสมกับบุรุษมากกว่า ฉะนั้น เป็นที่ประจักษ์ว่าการปราศจากผู้ชายในสังคม ครอบครัวจะพบกับความเสียหายมากกว่า ด้วยเหตุนี้ เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจ่ายค่า ชดเชยจำนวนมากเมื่อสูญเสียบุรุษไป[3]

3. ความว่างเปล่าเนื่องจากครอบครัวปราศจากผู้ชาย นั้นจะมีช่องว่างมากกว่าขาดสตรี จากการค้นคว้าของนักนิติศาสตร์และประวัติศาสตร์[4] ดียะฮฺ หรือค่าชดเชยนั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อชดเชยค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิด หรือการก่ออาชญากรรมกับคนๆ หนึ่ง หรือกับครอบครัวหนึ่ง ขณะที่สังคมเป็นสังคมศาสนาภารกิจด้านเศรษฐกิจส่วนใหญ่ จึงอยู่ในการดูแลของบุรุษ ส่วนสตรีมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยในครอบครัว เป็นธรรมชาติที่ว่าร่องรอยของงานทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากผู้ชายนั้นมีมากกว่าสตรี ด้วยเหตุนี้การปราศจากผู้ชายไปจากสังคมและครอบครัว ในแง่ของเศรษฐกิจถือว่าเป็นความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่ครอบครัว เนื่องจากขาดผู้นำและคนหาเลี้ยงครอบครัว ด้วยเหตุนี้ ค่าชดเชยของผู้ชายจึงต้องจ่ายตามเหมาะสมกับสถานภาพของเขาในครอบครัว[5]

นอกจากนั้นแล้ว ค่าเลี้ยงดูครอบครัวยังเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ชาย มิใช่ผู้หญิง ด้วยเหตุนี้การสูญเสียผู้ชายไปบรรดาลูกๆ อีกหลายคนที่ต้องอาศัยค่าเลี้ยงดูจากเขายังคงอยู่ ดังนั้น จำเป็นต้องชดเชยในลักษณะเติมเต็มความว่างเปล่าของเขา ด้วยเหตุผลนี้เอง โดยหลักการแล้วค่าชดเชยของผู้ชายจำเป็นต้องมากกว่าผู้หญิง ซึ่งประเด็นนี้มิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าใครดีกว่าใคร หรือผู้ชายดีกว่าผู้หญิงแต่อย่างใด ทว่าได้พิจารณาจากองค์ประกอบภายนอกถึงสาเหตุการเสียชีวิตของเขา และบทบาทของเขาในครอบครัวเป็นหลัก[6]

จากสิ่งที่อธิบายมานี้สามารถสรุปได้ว่า ปัญหาเรื่องค่าชดเชย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณค่าของสตรีหรือบุรุษ อันเป็นสาเหตุให้ความแตกต่างระหว่างทั้งสองนั้นได้รับการทักท้วง อีกด้านหนึ่ง หน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นหน้าที่ของบุรุษในครอบครัวก็ได้สนับสนุนประเด็นดังกล่าวได้เป็นอย่างดีว่า ความแตกต่างของค่าชดเชยขึ้นอยู่กับเรื่องค่าใช้จ่ายของครอบครัวเป็นหลัก 

ผู้ชายในแง่ของร่างกายทางกายภาพนั้นมีความแข็งแกร่งกว่าสตรี สามารถปฏิบัติหน้าที่หนักได้ การมีอยู่ของผู้ชายสำหรับครอบครัวแล้วถือว่าสร้างความมั่นใจและให้พลังแก่จิตใจได้เป็นอย่างดี อีกด้านหนึ่งการไม่มีผู้ชายในครอบครัวเป็นสาเหตุทำให้ผู้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของเขาต้องปราศจากผู้นำ และผู้รับผิดชอบ ด้วยเหตุนี้ เป็นธรรมดาที่ว่าเมื่อต้องสูญเสียผู้ชายไปเนื่องจากอุบัติเหตุหรือด้วยสาเหตุอื่นๆ ค่าชดเชยของเขาจึงต้องมากกว่าผู้หญิง[7]

สุดท้ายของบทความใคร่จะชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง ซึ่งมิได้หลุดพ้นไปจากความการุณย์ของพระเจ้าแต่อย่างใด ประเด็นดังกล่าวคือ 

ประการแรก ค่าชดเชยของหญิงซึ่งน้อยกว่าผู้ชายครึ่งหนึ่งนั้น ตราบที่ค่าชดเชยนั้นมีไม่ถึง หนึ่งในสามส่วน มิเช่นนั้นแล้วค่าชดเชยของผู้ชายและผู้หญิงถ้าน้อยกว่า หนึ่งในสามจะเท่ากัน ด้วยเหตุผลนี้เอง ถ้าเหตุผลที่กล่าวว่า ค่าชดเชยของสตรีน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่งนั้นก็เนื่องจากความพร่องของนาง ดังนั้น ในทุกที่ค่าชดเชยของเธอโดยทั่วไปแล้วต้องน้อยกว่าผู้ชายครึ่งหนึ่ง

ประการที่สอง บุรุษคือผู้ที่ได้รับค่าชดเชยมากกว่าผู้หญิงครึ่งหนึ่ง เขามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการจ่ายค่าชดเชยกรณีที่ญาติของตนได้สังหารชีวิตผู้อื่น หรือก่ออาชญากรรมในลักษณะของความผิดพลาด ขณะที่ผู้หญิงได้รับการยกเว้นในกรณีนี้

เป็นไปได้ว่าในสมัยนี้ สตรีและบุรุษมีความเท่าเทียมกัน สตรีก็ประกอบหน้าที่การงานในสังคม มีการทำธุระกรรมด้านการเงินมากขึ้น มีส่วนร่วมกับผู้ชายในการจัดหาค่าเลี้ยงดูครอบครัว ดังนั้น ในสมัยนี้จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่จะมากล่าวว่า ค่าชดเชย ของสตรีนั้นน้อยกว่าบุรุษครึ่งหนึ่ง

คำตอบ สามารถกล่าวได้ว่า ถูกต้องที่ทุกวันนี้สตรีได้ประกอบอาชีพเยี่ยงบุรุษ หรือเคียงบ่าเคียงไหล่กับบุรุษในการแสวงหาปัจจัยเลี้ยงดูครอบครัว แต่ขณะเดียวกันสตรีไม่อาจสร้างความสงบหรือความปลอดภัยให้แก่ครอบครัวได้เยี่ยงบุรุษ ตามความเป็นจริงแล้วการปกป้องครอบครัวนั้นสตรีไม่อาจทำได้เยี่ยงบุรุษ ประการที่สอง ดังที่กล่าวไปแล้วว่าอาชีพที่มีรายได้มากจำนวนมากมายในสังคมที่ไม่มีความเหมาะสมกับสภาพร่างกายที่อ่อนแอของสตรี จึงเป็นการผูกขาดไว้ที่ผู้ชาย และเป็นธรรมชาติที่ว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจจากผู้จะเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าผลทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเท่าเทียมกัน แล้วเป็นเพราะสาเหตุใดในสังคมที่มีการกล่าวอ้างถึง สิทธิของสตรีตำแหน่งรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูง หรือนักกฎหมายจึงอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ชาย?

ปัญหาอีกประการหนึ่งที่อาจจะกล่าวเพิ่มได้ในที่นี้ก็คือ ค่าชดเชยของสตรีมีค่าครึ่งหนึ่งของบุรุษ เท่ากับเป็นการแบ่งชนชั้นและให้ความโปรดปรานพิเศษแก่ผู้ชาย

คำตอบ สำหรับคำถามเหล่านี้คือ อิสลามเป็นศาสนาแห่งความเสมอภาค ความเป็นบุรุษและสตรีในแง่ของศาสนาไม่มีความแตกต่างอันใดทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่ค่าชดเชยของฝ่ายหญิงน้อยกว่าผู้ชายครึ่งหนึ่ง นั้นย่อมีความดีอยู่ในนั้น ดังเช่นที่บทบัญญัติอื่นของอิสลามอันเนื่องจากมีวิทยปัญญาอยู่ในนั้น จึงได้ร่างขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สตรี เช่น ถ้าหากมุสลิมตกศาสนา (มุรตัดฟิฎรีย) หมายถึงเป็นมุสลิมและได้ตกสภาพการเป็นมุสลิม แม้ว่าจะขอลุแก่โทษแล้ว บรรดานักปราชญ์ส่วนใหญ่มีความเห็นพร้องต้องกันว่าโทษของเขาคือ การประหารชีวิต แต่ถ้าเป็นสตรีถ้าตกศาสนาและเธอได้ขอลุแก่โทษแล้ว เธอจะได้รับอิสรภาพและดำเนินชีวิตเยี่ยงคนธรรมดาสามัญทั่วไป

หรือการลงโทษบุคคลที่จะก่อกบฏในรัฐอิสลาม ถ้าเป็นชายนอกจากจะได้รับการลงโทษทางกายแล้ว ยังจะถูกเนรเทศไปยังเมืองอื่นอีกด้วย แต่ถ้าเป็นหญิงไม่ต้องถูกเนรเทศ หรือสาเหตุของการยกเลิกการแต่งงาน ถ้าเป็นผู้ชายหลักจากอ่านอักด์นิกาฮฺแล้วกลายเป็นคนวิกลจริต ผู้หญิงมีสิทธิ์ยกเลิกการแต่งงานนั้น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าสิ่งนี้ได้เกิดกับผู้หญิง ผู้ชายไม่มีสิทธิ์ยกเลิกการแต่งงาน[8]



[1]  ญะวาดี ออมูลีย์ อับดุลลอฮฺ ซันดัรอออีเนะฮฺ ญะลาล วะญะมาล หน้า 400,401

[2] มัจญิลิสซีย์ บิฮารุลอันวาร เล่ม 67 หน้า 68 หมวดที่ 45, มุสตัดร็อกวะซาอิล เล่ม 17 หน้า 249

[3]  มะการิมชีรอซีย์ นาซิร บทเรียนฟิกฮฺระดับสูงหัวข้อ เรื่องค่าชดเชย หนังสือพิมพ์ ฟัยฎียะฮฺ ฉบับที่ 18

[4] ชะฟีอียฺ ซุรูซตานีย์ อิบรอฮีม กฎหมายว่าด้วยเรื่องการชดเชยและความจำกัดของเวลา ศูนย์ค้นคว้าข้อมูลพิเศษสำนักประธานาธิบดี พิมพ์ครั้งแรก

[5] ชะฟีอียฺ ซุรูซตานีย์ อิบรอฮีม ความต่างระหว่างหญิงกับชายในเรื่องการชดเชยและการลงโทษ สะฟีร เระฮฺซุบฮฺ พิมพ์ครั้งแรก หน้า 93

[6]  คอมเมเนอี ซัยยิดมุฮัมมัด สิทธิสตรี สำนักพิมพ์ อินติชารอตอิลมี ฟังฮังกีย์ ปี 1375 พิมพ์ครั้งที่ 2 หน้า 98

[7] มะฮฺมูดีย อับบาซอะลี ความเสมอภาคระหว่างบุรุษและสตรีในการลงโทษ สำนักพิมพ์ บิอ์ษัต พิมพ์ครั้งแรก ปี 1365 หน้า 83, มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอฮฺ สตรีในสิทธิอิสลาม แปลโดยอับดุลฮาดีย์ ฟะกีฮีย์ ซอเดะฮฺ สำนักพิมพ์สำนักผู้พิพากษา หน้า 24

[8]  คัดเลือกมาจากทัศนะของนักปราชญ์แห่งยุคสมัย และริซาละฮฺเตาฎีฮุลมะซาอิลของบรรดามัรญิอ์ทั้งหลาย

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
    11130 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร) ก) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1] ข) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    8073 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
    7630 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    8358 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    9029 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • มีวิธีใดที่จะตักเตือนสามีเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ได้บ้าง?
    6159 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/01
    สิ่งหนึ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัดเจนในคำถามก็คือ คุณสองคนยังรักกันตามปกติ อีกทั้งคุณต้องการจะทำหน้าที่ภรรยาอย่างสุดความสามารถ สมควรอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงสองจุดเด่นนี้ให้มากเพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องอื่นๆ บรรยากาศในครอบครัวควรอบอวลไปด้วยความรักความเข้าใจ มิไช่การยกตนข่มท่าน ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น บางเรื่องที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่องอาจจะมิไช่จุดบกพร่องเสมอไป ฉะนั้นจึงต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าพฤติกรรมใดคือจุดบกพร่อง แล้วจึงคิดที่จะเยียวยารักษา เชื่อว่าหลักการง่ายๆเพื่อตักเตือนสามีก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดว่าถ้าหากมีใครสักคนต้องการจะตักเตือนเรา เราอยากได้ยินคำตักเตือนลักษณะใด ให้ถือว่านั่นคือสิ่งที่ควรถือปฏิบัติ เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน ย่อมจะยังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด หากทำได้ดังนี้ก็สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันแก่คู่ครองของคุณ ...
  • วิธีตอบรับสลามขณะนมาซควรทำอย่างไร?
    11771 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ขณะนมาซ, จะต้องไม่ให้สลามบุคคลอื่น แต่ถ้าบุคคลอื่นได้กล่าวสลามแก่เขา, เขาจะต้องตอบในลักษณะที่ว่ามีคำว่า สลาม ขึ้นหน้า, เช่น กล่าวว่า »อัสลามุอะลัยกุม« หรือ »สลามุน อะลัยกุม« ซึ่งจะต้องไม่ตอบว่า »วะอะลัยกุมสลาม«[1] สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ, คนเราต้องตอบรับสลามอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะอยู่ในนมาซหรือไม่ก็ตาม ซึ่งถ้าลืมหรือตั้งใจไม่ตอบรับสลามโดยทิ้งช่วงให้ล่าช้านานออกไป, และไม่นับว่าเป็นการตอบรับสลามอีกต่อไป, ขณะนมาซไม่จำเป็นต้องตอบ และถ้านอกเวลานมาซไม่วาญิบต้องตอบรับสลามอีก[2] [1] ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
    8084 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/24
    ฮะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท ก.กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่เชื่อถือได้แข็งแรงและเศาะฮี้ห์ ขกลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถืออ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก.ฮะดีษที่ยกมานั้นหนังสือบิฮารุลอันว้ารอ้างอิงจากหนังสือมะนากิ้บของอิบนิชะฮ์รอชู้บแต่เนื่องจากไม่มีสายรายงานที่ชัดเจนจึงจัดอยู่ในกลุ่มฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือแต่สมมติว่าฮะดีษดังกล่าวเศาะฮี้ห์
  • ฮะดีษต่อไปนี้น่าเชื่อถือเพียงใด “อสุจิที่ปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานจะเติบโตเป็นทารกที่มี 6 นิ้ว”?
    6957 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในบทฮะดีษที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติและข้อพึงหลีกเลี่ยงของการร่วมหลับนอนท่านนบีกล่าวว่า “จงงดการร่วมหลับนอนกับภรรยาในคืนอีดกุรบานเนื่องจากอสุจิที่ปฏิสนธิในค่ำคืนนี้จะกำเนิดเป็นทารกที่มี 4 หรือ6นิ้ว”[1]ฮะดีษนี้นอกจากจะปรากฏในหนังสือฮิลยะตุลมุตตะกีนแล้วยังปรากฏในหนังสือญามิอุ้ลอัคบ้ารประพันธ์โดยตาญุดดีนอัชชะอีรีและหนังสือมะการิมุ้ลอัคล้ากประพันธ์โดยเราะฎียุดดีนฮะซันบินฟัฎล์เฏาะบัรซีอีกด้วยอย่างไรก็ตามในแง่สายรายงานจัดอยู่ในฮะดีษที่มีสายรายงานไม่ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาเนื้อหาฮะดีษก็พอจะกล่าวได้ว่าการร่วมหลับนอนและการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในค่ำคืนอีดกุรบ้านนั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ทารกพิการมีสี่หรือหกนิ้วแต่มิได้เป็นเหตุอันสมบูรณ์ของปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงยังเห็นได้ว่าเด็กบางคนที่ปฏิสนธิในค่ำคืนดังกล่าวมิได้พิการเสมอไปในทางกลับกันผู้ที่พิการมีสี่หรือหกนิ้วก็มิได้หมายความว่าปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานทุกคนสรุปคือถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นจะไม่มีความต่อเนื่องในแง่สายรายงานอีกทั้งไม่อาจจะฟันธงว่าการร่วมหลับนอนในคืนอีดกุรบานคือเหตุอันสมบูรณ์ของการพิการดังกล่าวแต่อย่างไรก็ดีสามารถถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญได้เพื่อมิให้ประสบกับเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารก[1] قال رسول الله ص :".... یا علی لا تجامع مع أهلک فی لیلة الأضحى فإنه إن قضی بینکما ...
  • นามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์หมายความว่าอย่างไร?
    6860 รหัสยทฤษฎี 2554/10/23
    จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เองโดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษพระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่าอิสมุ้ลมักนูนหรืออิสมุ้ลมัคซูนอีกด้วย ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60183 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42262 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39469 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38986 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34047 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28054 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28039 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27877 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25861 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...