การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8046
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/16
 
รหัสในเว็บไซต์ fa927 รหัสสำเนา 15117
คำถามอย่างย่อ
ถูกต้องแล้วหรือ ที่บางคนปวารณาตัวเองเป็นสัตว์ชนิดต่างๆเพื่อให้เกียรติบรรดาอิมาม(อ.)? (อย่างเช่นเรียกตัวเองว่าเป็นสุนัขของอิมามฮุเซน(อ.))
คำถาม
ผิดหรือไม่ที่บางคนถือว่าตัวเองเป็นสัตว์ชนิดต่างๆ หรือมีพฤติกรรมอื่นๆในทำนองเดียวกันนี้?
คำตอบโดยสังเขป

กุรอานและฮะดีษจากนบีและบรรดาอิมามล้วนกำชับให้เห็นถึงความสำคัญของการให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะมุอ์มิน
นอกจากนี้ยังได้สอนว่า การตั้งชื่ออันไพเราะและการเรียกขานผู้อื่นด้วยชื่ออันไพเราะนั้น นับเป็นการให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ประการหนึ่ง
เช่นในซูเราะฮ์ฮุญุรอตได้กล่าวว่าจงอย่าเรียกขานกันและกันด้วยชื่ออันน่ารังเกียจยิ่งไปกว่านั้น อิสลามสอนเราว่าผู้ศรัทธามีเกียรติยิ่งกว่าวิหารอัลกะอ์บะฮ์ ผู้ศรัทธาทุกคนจึงไม่ควรจะทำลายศักดิ์ศรีของตนเองหรือผู้อื่น
ท่านนบี(..)และบรรดาอิมาม(.)ก็คงจะไม่ยินดีปรีดา หากต้องเห็นกัลญาณมิตรดูถูกตนเองเพื่อเทิดเกียรติแด่ท่าน
อย่างไรก็ดี การจะตัดสินว่าพฤติกรรมใดขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมแต่ละพื้นที่ ชื่อบางชื่อในวัฒนธรรมหนึ่งอาจเป็นการดูหมิ่น แต่สำหรับอีกวัฒนธรรมหนึ่ง นอกจากจะไม่น่ารังเกียจแล้ว กลับจะเป็นที่ภาคภูมิใจด้วยซ้ำ แน่นอนว่าเขาภูมิใจในความหมายเชิงอุปมาอุปไมย และความหมายประเภทนี้ไม่ขัดต่อศักดิ์ศรีของผู้ศรัทธาแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

อิสลามเคารพในศักดิ์ศรีและเกียรติยศของมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะสำหรับมุสลิมและมุอ์มิน และถือว่ามนุษย์มีฐานะภาพที่สูงส่ง
อัลลอฮ์ได้กล่าวถึงคุณลักษณะและขั้นตอนการสร้างมนุษย์ไว้ว่าแท้จริงเราได้สร้างมนุษย์ในรูปลักษณ์ที่ดีที่สุด [1] และเราได้ประทานเกียรติยศแก่วงศ์วานอาดัม[2]
จึงกล่าวได้ว่ามนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่อัลลอฮ์ทรงสร้างอย่างวิจิตร ทรงคุณค่าและมีเกียรติยศสูงส่งในทัศนะของพระองค์ ในจำนวนนี้ ผู้ศรัทธาที่ยอมสยบต่อคำบัญชาของพระองค์จะได้รับเกียรติสูงกว่าผู้อื่น โดยกุรอานและฮะดีษได้เน้นย้ำให้ผู้ศรัทธารักษาฐานะภาพอันสูงส่งนี้ของตนเองและผู้อื่นไว้ให้นานเท่านาน[3]

ฮะดีษมากมายที่กล่าวถึงผลบุญอันมหาศาลของการช่วยเหลือ[4] การให้เกียรติผู้ศรัทธา[5] และยังห้ามมิให้เมินเฉยต่อผู้ศรัทธาในยามยาก[6] ห้ามมิให้ยั่วโทสะพวกเขา[7] เหล่านี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นที่จะต้องเคารพศักดิ์ศรีของผู้ศรัทธา ถึงขั้นที่มีฮะดีษระบุว่าเกียรติของผู้ศรัทธาเหนือกว่าเกียรติของวิหารกะอ์บะฮ์[8]
เกี่ยวกับเรื่องนี้ อัลลอฮ์และบรรดามะอ์ศูมีนได้สอนให้เราตั้งชื่ออันดีงามแก่บุตรธิดา และยังสอนให้เรียกขานผู้อื่นด้วยชื่อหรือฉายาที่ดีเท่านั้น อิมามอลี(.)กล่าวว่าสิทธิที่บุตรธิดามีต่อพ่อก็คือ จะต้องตั้งชื่อที่ดีแก่พวกเขา[9]
กุรอานห้ามปรามไว้ว่าผู้ศรัทธาไม่ควรดูถูกกันและกัน ไม่ควรเรียกชื่อหรือฉายาอันไม่พึงประสงค์ ไม่ควรมีอคติกับพี่น้องมุสลิม ไม่ควรจ้องจับผิดและติฉินนินทากันและกัน[10] เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะบ่อนทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และโดยเฉพาะผู้ศรัทธาอย่างร้ายแรง
ดังที่อัลลอฮ์ไม่ปรารถนาจะเห็นผู้ศรัทธาเรียกขานชื่อที่น่ารังเกียจและดูถูกกันและกัน แน่นอนว่าหากผู้ศรัทธาคนใดตั้งชื่อหรือฉายาที่น่ารังเกียจแก่ตนเอง อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นหมิ่นประมาท ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม[11]

สรุปคือ ศาสนาที่เคารพศักดิ์ศรีมนุษยชนเช่นอิสลาม ไม่อนุญาตให้ผู้ศรัทธาขนานนามตนเองหรือผู้อื่นด้วยชื่ออันไม่พึงประสงค์ บทบัญญัตินี้ครอบคลุมถึงวิธีการอะซอดอรี(ไว้ทุกข์แด่บรรดาเอาลิยาอ์ของพระองค์)ด้วย กล่าวคือ แม้จะด้วยเหตุผลที่ต้องการเทิดเกียรติบรรดาอิมามก็ไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้น เนื่องจากการกระทำดังกล่าวขัดต่อคำสอนของกุรอานและบรรดาอิมาม บรรดาอิมามเองก็เคยห้ามปรามมิให้ผู้ที่เลื่อมใสแสดงพฤติกรรมที่ส่อถึงความต่ำต้อยเพื่อหวังจะให้เกียรติท่าน[12] หากได้ทราบว่านบี(..)และบรรดาอิมาม(.)ไม่ประสงค์จะเห็นผู้เลื่อมใสแสดงความต่ำต้อยเพียงการโค้งตัวให้เกียรติท่าน แน่นอนว่าคงจะไม่ยอมให้ผู้ใดให้เกียรติท่านด้วยวิธีขนานนามตัวเองว่าเป็นสุนัขหรือสัตว์ประเภทอื่นๆอย่างเด็ดขาด

ในยุคของของนบี(..)และบรรดาอิมาม(.) เราไม่เคยพบเห็นเศาะฮาบะฮ์ยุคแรก หรือสาวกระดับแนวหน้า หรือผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ อาทิเช่น อายะตุลลอฮ์ บุรูเญรดี, อิมามโคมัยนี ฯลฯ แสดงพฤติกรรมดังกล่าวเลย นอกจากนี้ การกระทำที่จะเป็นเหตุให้มัซฮับชีอะฮ์ถูกเหยียดหยาม ย่อมส่งผลให้ภาพลักษณ์ของบรรดาอิมามเสื่อมเสียไปด้วย บรรดาอิมามจึงห้ามปรามมิให้กระทำเช่นนี้ ดังที่ท่านอิมามญะอ์ฟัร(.)กล่าวไว้ว่าจงเป็นเครื่องประดับสำหรับเรา และจงอย่าเป็นเหตุให้เราเสื่อมเสีย[13]

จึงเป็นการเหมาะสมกว่า หากเราจะแสดงออกถึงความรักในลักษณะที่สอดคล้องกับคำสอนของบรรดาอิมาม(.) ตลอดจนระมัดระวังคำพูดที่จะทำให้บุคคล การไว้อาลัย และมัซฮับได้รับความเสื่อมเสีย
สุดท้ายนี้ อยากจะฝากข้อคิดต่อไปนี้ว่า สิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดพฤติกรรมที่ขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก็คือวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ความแตกต่างของวัฒนธรรมแต่ละท้องที่จะเป็นตัวแปรในการพิจารณาพฤติกรรม ยกตัวอย่างเช่น ในวัฒนธรรมของบางพื้นที่ ชื่อบางชื่ออาจนำมาซึ่งความอับอาย แต่ในวัฒนธรรมของอีกพื้นที่หนึ่ง ไม่เพียงแต่จะไม่น่าอับอาย แต่อาจจะเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ แน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้ภาคภูมิใจก็คือความหมายเชิงอุปมาอุปไมย มิไช่ความหมายเชิงคำศัพท์ เนื่องจากความหมายเชิงอุปมาอุปไมย หรือกาพย์โคลงกลอน[14] ย่อมไม่ขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเป็นผู้ศรัทธาแต่อย่างใด



[1] ซูเราะฮ์ อัตตีน,4

[2] อัลอิสรออ์,70

[3] อันนู้ร,12 อัลฮุญุรอต,11,12 และ หนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 11(หมวดว่าด้วยการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว,ฮะดีษว่าด้วยการให้เกียรติมุอ์มิน)

[4] อ้างแล้ว, 582

[5] อ้างแล้ว, 590

[6] อ้างแล้ว, 597

[7] อ้างแล้ว, 569

[8] มุสตั้ดร่อกุลวะซาอิ้ล,เล่ม 9,หน้า 343,ฮะดีษที่ 9.

[9] นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,ฮิกมะฮ์ 399.

[10] ซูเราะฮ์ ฮุญุร้อต, 11-14

[11] อัลมีซานฉบับแปลฟารซี,เล่ม 18,หน้า 481.

[12] ดู: นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,ถ้อยธรรมสั้นลำดับที่ 37

[13] อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 77,ฮะดีษที่ 9

[14] ดังที่ปรากฏในประวัติของเชคฏูซีว่า ท่านได้สั่งให้เขียนโองการที่เกี่ยวกับสุนัขของอัศฮาบุ้ลกะฮ์ฟิบนสุสานของท่าน หรือกรณีกลอนยกย่องอิ

ามอลี(.)ของท่านอายะตุลลอฮ์ วะฮีด โครอซอนี ที่ลงท้ายว่าฉันคือหนึ่งเดียวในเรื่องความผิดพลาด   เป็นเพียงสุนัขที่บัดนี้ชราภาพในถิ่นฐานของท่านอย่างไรก็ดี เหล่านี้เป็นการอุปมาอุปไมยเชิงกาพย์โคลงกลอนเท่านั้น ซึ่งไม่ขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แต่อย่างใด

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    9868 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...
  • การจ่ายคุมซ์เป็นทรัพย์สินเพียงครั้งเดียว แล้วต่อไปไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกใช่หรือไม่?
    5775 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ดั่งเป็นที่ทราบกันดีว่าคุมซ์คือหนึ่งในการบริจาคทรัพย์อันเป็นวาญิบสำคัญในอิสลามเป็นหนึ่งในหลักการอิสลามและเป็นอิบาดะฮฺด้วยด้วยสาเหตุนี้เองจำเป็นต้องเนียต (ตั้งเจตคติ) เพื่อแสวงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ (ซบ.)ทรัพย์สินและเงินทุนต่างๆที่ต้องจ่ายคุมซ์ถ้าหากจ่ายคุมซ์ไปแล้วเพียงครั้งเดียวไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นไปนานหลายปีก็ตามแต่ถ้าเป็นทรัพย์ที่เติบโตหรือมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมทุนเดิมไม่ต้องจ่ายคุมซ์แต่ส่วนที่เป็นผลกำไรงอกเงยอออกมาวาญิบต้องจ่ายคุมซ์[1][1]  เตาฏีฮุลมะซาอิลมะริญิอฺ
  • จะเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร?
    9341 ปรัชญาของศาสนา 2554/07/16
    ผู้ที่คิดว่าศาสนาและวิทยาศาสตร์ไม่อาจจะปรับเข้าหากันได้แสดงว่าไม่เข้าใจธรรมชาติของศาสนาเทวนิยมโดยเฉพาะศาสนาอิสลามอีกทั้งไม่เข้าใจว่าพื้นที่คำสอนของศาสนาและพื้นที่ความรู้ของวิทยาศาสตร์ก็แยกออกเป็นเอกเทศ เมื่อพื้นที่ต่างกันก็ย่อมไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นคำสอนของศาสนามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในสามพื้นที่ด้วยกันนั่นคือความสัมพันธ์กับตนเองความสัมพันธ์กับผู้อื่น(สังคมและสิ่งแวดล้อม) และความสัมพันธ์กับพระเจ้า และในฐานะที่อิสลามถือเป็นศาสนาที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดได้สนองตอบความต้องการของมนุษย์ทุกยุคสมัยด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “อิจญ์ติฮาด”ซึ่งได้รับการวางรากฐานโดยวงศ์วานศาสดามุฮัมมัดส่วนเทคโนโลยีนั้นมีอิทธิพลเพียงในพื้นที่แห่งประสาทสัมผัสและมีไว้เพื่อค้นพบศักยภาพของโลกและจักรวาลที่ซ่อนอยู่ตลอดจนเพื่อประดิษฐ์เครื่องมือในการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากเนียะอฺมัตของอัลลอฮ์เท่านั้น จึงกล่าวได้ว่านวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ช่วยแผ่ขยายพื้นที่ในการตรากฏเกณฑ์ศาสนาให้กว้างยิ่งขึ้นเพราะในทัศนะอิสลามแล้วสามารถจะวินิจฉัยปัญหาใหม่ๆได้โดยใช้กระบวนการอิจญ์ติฮาดและอ้างอิงขุมความรู้ทางฟิกเกาะฮ์. ...
  • อิสลามมีกฏเกณฑ์อย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว?
    22354 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/09
    อิสลามถือว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างชายและหญิงให้มีบทบาทเกื้อกูลกันและกันหนึ่งในปัจจัยที่ทั้งสองเพศต้องพึ่งพากันและกันก็คือความต้องการทางเพศทว่าการบำบัดความต้องการดังกล่าวจะต้องอยู่ในเขตคำสอนของอิสลามเท่านั้นจึงจะสามารถรักษาศีลธรรมจรรยาของทั้งสองฝ่ายได้อิสลามถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวก่อนแต่งงานไม่ว่าโดยตรงหรือผ่านสื่อหากเป็นไปด้วยความไคร่หรือเกรงว่าจะเกิดความไคร่ถือว่าไม่อนุมัติแต่สำหรับความสัมพันธ์ในการทำงานวิชาการและการศึกษาถือเป็นที่อนุมัติเฉพาะในกรณีที่ไม่โน้มนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ...
  • ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กฎการขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? การถือปฏิบัติกฎระเบียบดังกล่าว ตามหลักการอิสลามในยุคสมัยนี้ ไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามหรือ?
    9186 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การลงโทษ โดยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือเรียกว่า “รัจม์” เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ ก่อนหน้าอิสลาม ซึ่งในอิสลามถือว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่งตามหลักชัรอียฺ แน่นอนและตายตัว ซึ่งจะใช้ลงโทษสำหรับการกระทำผิดที่หนักมาก ซึ่งมีรายงานจำนวนมากจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ เป้าหมายของอิสลามจากการลงโทษดังกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขสังคม, อันเกิดจากความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม, เป็นการชำระผู้กระทำผิดอีกทั้งเป็นการลบล้างความผิดบาป ที่เกิดจากผลของความผิดนั้น, ดำเนินความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม,ป้องกันความหันเห ความหลงผิดต่างๆ อันเกิดจากการทำลายความบริสุทธิ์ของสังคม กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตามทัศนะของอิสลามการลงโทษ การทำชู้ (หญิงที่มีสามี หรือชายที่มีภรรยา) จะถูกลงโทษด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนกระทั่งเสียชีวิต ถ้าหากการดำเนินกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่นๆ นำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามอิสลามแล้วละก็ วะลียุลฟะกีฮฺ หรือฮากิมชัรอียฺ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม ...
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่จะรู้จักบุคคลสำคัญในสวรรค์และนรก?
    6849 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    มีหลายโองการในกุรอานที่กล่าวถึงบทสนทนาระหว่างชาวสวรรค์และชาวนรก ซึ่งทำให้พอจะทราบคร่าวๆได้ว่าชาวสวรรค์สามารถที่จะรับรู้สภาพและชะตากรรมของบุคคลต่างๆในนรกได้ นอกจากนี้ เหล่าบุรุษชาวอะอ์ร้อฟรู้จักสีหน้าของชาวสวรรค์และชาวนรกเป็นอย่างดี มีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าเหล่าบุรุษแห่งอะอ์ร้อฟนั้น ตามนัยยะเชิงแคบก็คือบรรดาอิมามมะอ์ศูม(อ.) ส่วนนัยยะเชิงกว้างก็หมายถึงบรรดามนุษย์ที่ได้รับการเลือกสรร ซึ่งจะอยู่ในลำดับถัดจากบรรดาอิมาม โดยบุคคลเหล่านี้อยู่เหนือชาวสวรรค์และชาวนรกทั้งมวล เราขอนำเสนอความหมายของโองการเหล่านี้ดังต่อไปนี้ 1. โองการที่ 50-57 ซูเราะฮ์ อัศศ้อฟฟ้าต “ในสรวงสวรรค์ ผู้คนต่างหันหน้าเข้าหากันแล้วถามไถ่กันและกัน โดยหนึ่งในนั้นเอ่ยขึ้นว่า แท้จริงฉันมีสหายคนหนึ่งที่ถามฉันว่า เธอเชื่อได้อย่างไรที่ว่าหลังจากที่เราตายและกลายเป็นธุลีดินแล้ว จะถูกนำไปพิพากษา (ชาวสวรรค์กล่าวว่า) ท่านรับรู้สภาพปัจจุบันของเขาหรือไม่? เมื่อนั้นก็ได้ทราบว่าเขาอยู่ ณ ใจกลางไฟนรก (ชาวสวรรค์)กล่าวแก่เขาว่า ขอสาบานต่อพระองค์ เจ้าเกือบจะทำให้ฉันหลงทางแล้ว หากปราศจากซึ่งพระเมตตาของพระองค์ ฉันคงจะอยู่(ในไฟนรก)เช่นกัน”[1] 2. โองการที่ 50-57 ซูเราะฮ์ มุดดัษษิร “ทุกคนย่อมค้ำประกันความประพฤติของตนเอง นอกจากสหายแห่งทิศขวาซึ่งจะถามไถ่กันในสรวงสวรรค์ ...
  • มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
    7781 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆอนึ่งยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณีสอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้นกล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือดแต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคมเพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกันหากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือดและผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่าการปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด ...
  • จริงหรือไม่ที่บางคนเชื่อว่าพระเจ้าเป็นเพียงแค่พลังงานเท่านั้น?
    6724 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/23
    อัลลอฮ์ทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาสิ่งใดทรงปรีชาญาณทรงมีเจตน์จำนงและปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการแต่พลังงานยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดมากมายอีกทั้งยังปราศจากความรู้และการตัดสินใจเมื่อเทียบคุณสมบัติของพลังงานกับคุณลักษณะของพระเจ้าก็จะทราบว่าพระเจ้ามิไช่พลังงานอย่างแน่นอนเนื่องจาก: พลังงานคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดกริยาและปฏิกริยาต่างๆโดยพลังงานมีลักษณะที่หลากหลายไม่ตายตัวและสามารถผันแปรได้หลายรูปแบบพลังงานมีคุณสมบัติเด่นดังนี้1. พลังงานมีสถานะตามวัตถุที่บรรจุ2. พลังงานมีแหล่งกำเนิด3. พลังงานมีข้อจำกัดบางประการ4. พลังงานเปลี่ยนรูปได้แต่อัลลอฮ์มิได้ถูกกำกับไว้โดยวัตถุใดๆ
  • มะลาอิกะฮ์และญินรุดมาช่วยอิมามฮุเซน(อ.)จริงหรือไม่ และเหตุใดท่านจึงปฏิเสธ?
    8498 تاريخ بزرگان 2554/12/03
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อนุญาตให้แขวนภาพเขียนมนุษย์และสัตว์ภายในมัสญิดหรือไม่?
    7927 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    ก่อนที่จะตอบ เราขอเกริ่นนำเบื้องต้นดังนี้1. บรรดาอุละมาอ์ให้ทัศนะไว้ว่า สถานที่แห่งหนึ่งที่ถือเป็นมักรู้ฮ์(ไม่บังควร)สำหรับนมาซก็คือ สถานที่ๆมีรูปภาพหรือรูปปั้นสิ่งที่มีชีวิต เว้นแต่จะขึงผ้าปิดรูปเสียก่อน ฉะนั้น การนมาซในสถานที่ๆมีรูปภาพคนหรือสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นมัสญิดหรือสถานที่อื่น ไม่ว่ารูปภาพจะแขวนอยู่ต่อหน้าผู้นมาซหรือไม่ก็ตาม[1] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60389 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57946 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42483 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39769 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39139 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34246 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28287 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28216 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28155 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26094 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...