Please Wait
8681
อัลกุรอานและรายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เข้าใจได้ว่า ความผิดต่างๆ ถ้าพิจารณาในแง่ของการลงโทษในปรโลกและโลกนี้ จะพบว่ามีระดับขั้นที่แตกต่างกัน อัลกุรอานถือว่า ชิริก คือบาปใหญ่และเป็นการอธรรมที่เลวร้ายที่สุด ทำนองเดียวกัน การกระทำความผิดบางอย่างได้รับการสัญญาเอาไว้ว่า จะต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน นั่นบ่งบอกให้เห็นว่า มันเป็นความผิดใหญ่นั่นเอง
ในแง่ของการลงโทษความผิดทางโลกนี้ สำหรับความผิดบางอย่างนั้นคือ การเฆี่ยนตีให้หลาบจำ ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ แต่การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนา จะต้องถูกประหารชีวิตให้ตายตกไปตามกัน หรือบาปบางอย่างนอกจากต้องโทษแล้ว ยังต้องจ่ายสินไหมเป็นเงินตอบแทนด้วย
อัลลอฮฺ ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมาก็เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความสุขของมนุษย์ ถ้าหากบุคคลใดปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านี้ เขาก็จะได้รับความเจริญผาสุกทั้งทางโลกนี้และปรโลก แต่ในกรณีที่ฝ่าฝืนนอกจากได้รับโทษแล้ว เขายังกีดกันตัวเองให้ออกห่างจากความเจริญผาสุกที่แท้จริงอีกด้วย
ความผิดและบาปนั้นหมายถึง การฝ่าฝืนและการไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้า[1] บาปกรรมต่างๆ เมื่อพิจารณาจากผลทางโลกนี้และโลกหน้าแล้ว ในแง่ของการลงโทษ มีความแตกต่างกัน
การแบ่งระดับของความผิดในอัลกุรอาน
อัลกุรอาน ถือว่า ชิริก คือความผิดใหญ่และเป็นการอธรรมสูงสุด กล่าวว่า «إِنَّ الشِّرْكَ لَظُلْمٌ عَظِيم.» “แท้จริงการตั้งภาคีคือความผิดมหันต์”[2] อีกโองการหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงจัดความผิดตางๆ ว่าเป็นการภาคี และเบากว่าการตั้งภาคี เช่น “แท้จริง อัลลอฮฺไม่ทรงอภัยโทษ [บาปนี้] การตั้งภาคีต่อพระองค์ แต่ [บาป] ที่เล็กกว่านั้น พระองค์จะทรงอภัยแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ ผู้ใดตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ แน่นอน เขาก็ได้หลงทางไปไกลโพ้น”[3] โองการอื่นกล่าวว่า “บรรดาผู้หลีกเลี่ยงห่างจากการทำบาปใหญ่ และทำสิ่งลามกทั้งหลาย เว้นแต่ความผิดพลาดเล็กน้อย (ซึ่งบางครั้งได้ล่วงละเมิด) แท้จริง พระผู้อภิบาลของเจ้า ทรงเป็นผู้กว้างขวางในการอภัย[4] อีกนัยหนึ่ง อัลลอฮฺ ตรัสว่า ถ้าหากเจ้าละเว้นการทำบาปใหญ่ (ความผิดเล็กๆ น้อยๆ ที่เจ้าได้ล่วงละเมิดกระทำลงไป) พระองค์จะทรงอภัยโทษแก่เจ้า แน่นอน สิ่งนี้หมายถึงว่าเจ้าจะต้องไม่ทำความผิดเล็กๆ น้อยๆ ซ้ำซาก[5]
การแบ่งระดับของความผิดในฮะดีซ
รายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้แบ่งความผิด (บาป) ออกเป็นบาปใหญ่และบาปเล็ก ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้นำอัลกุรอานพิสูจน์ความผิดต่อไปนี้ว่า เป็นบาปใหญ่[6] : สิ้นหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ (ยูซุฟ, 78) พวกเขาจะปลอดภัยจากอุบายของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ (อะอฺรอฟ 99) ทำดีต่อบิดามารดา (มัรยัม, 32) สังหารมวลผู้ศรัทธา (นิซาอฺ, 93) ใส่ร้ายสตรีผู้ศรัทธาที่มีความบริสุทธิ์ (นูร, 23) กินทรัพย์สินของเด็กกำพร้า (นิซาอฺ, 10) หนีสงครามศาสนา (อันฟาล, 16) กินดอกเบี้ย (บะเกาะเราะ, 277) ผิดประเวณี (ซินา) (ฟุรกอน, 68-69) ก่ออาชกรรมความเสียหาย (อาลิอิมรอน, 161) ไม่บริจาคซะกาตวาญิบ (เตาบะฮฺ, 35) มายากล (บะเกาะเราะฮฺ, 102) สาบานโกหกเพื่อความผิด (อาลิอิมรอน, 77) บิดพลิ้วสัญญา (บะเกาะเราะฮฺ, 27)[7]
ในแง่ของการลงโทษทางโลกนี้เช่นกัน ความผิดมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การสังหารชีวิตผู้อื่นโดยเจตนา การคบชู้ และ ...โทษคือการประหารชีวิต ส่วนการลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การผิดประเวณีทั่วไป การดื่มสุรา และ ... จะได้รับการโบยต่อหน้าสาธารณชน และ ...[8] สำหรับการลงโทษบางอย่าง เช่น การไม่ถือศีลอด การบิดพลิ้วสัญญา การสาบานโกหก และ ..จะต้องเสียค่าปรับ เช่น ตั้งใจไม่ถือศีลอด ต้องจ่ายอาหารแก่คนยากจนตามกำหนดไว้[9]
ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างความผิดด้วยกัน เช่น ระหว่างการซินากับการฟังดนตรี แน่นอน การทำซินาย่อมเลวร้ายและมีบาปมากกว่าการฟังดนตรีที่ฮะรอม เนื่องจาก ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ดนตรี คือบันไดที่ก้าวไปสู่การซินา” ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “บ้านหลังใดที่มีเสียงดนตรี จะไม่มีวันบริสุทธิ์จากความชั่วอนาจารต่างๆ เด็ดขาด”[10] จากทั้งสองรายงานเข้าใจได้ได้ การเข้าสู่โลกของดนตรีคือ บทนำไปสู่การซินา แต่ไม่มีหลักฐานสำหรับประเด็นดังกล่าวที่ว่า โทษทัณฑ์ของการทำซินาจะมากกว่าการฟังดนตรีที่ฮะรอมถึง 34 เท่า
ประเด็น สุดท้ายแม้ว่าตามคำสอนของอิสลามจะแบ่งความผิด (บาป) ออกเป็นระดับต่างๆ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า ความผิด (บาป) ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก เมื่อพาดพิงไปยังอัลลอฮฺ มันคือความผิดมหันต์ทั้งสิ้น ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า “จงอย่ามองว่านั่นเป็นบาปเล็ก แต่จงคิดว่า เจ้ากล้าทำความผิดต่อหน้าใคร”[11]
[1] อิซมัต อัมบิยาอฺ วะเราะซูลลาน, อัลลามะฮฺ อัสการีย์, หน้า 78
[2] บทลุกมาน, 13.
[3] บทนิซาอฺ 116.
[4] บทนัจญฺมุ, 32.
[5] النَّهِيكِيِّ عَنْ عَمَّارِ بْنِ مَرْوَانَ الْقَنْدِيِّ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ سِنَانٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ لَا صَغِيرَةَ مَعَ الْإِصْرَارِ وَ لَا كَبِيرَةَ مَعَ الِاسْتِغْفَارِ.
[6] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 15, หน้า 319,ฮะดีซที่ 2 بَابُ تَعْيِينِ الْكَبَائِرِ الَّتِي يَجِبُ اجْتِنَابُهَا
[7] ซัด โด พันเฌาะ เมาฎูอ์ อัซกุรอานกะรีม, อักบัร เดะกอน, หน้า 210-212.
[8] มาตราที่ 83, กฎหมายอาญาอิสลาม, หนังสือ ชัรกอนูนมะญอซอต อิสลามี, มุรตะฎะวี, หน้า 51.
[9] เตาฎีฮุลมะซาอิล มะรอญิอฺตักลีด, บทอะฮฺกามการถือศีลอด.
[10] คำถามและคำตอบเกี่ยวกับการฟังดนตรี, หน้า 22, อะฮฺกามดนตรี, หน้า 32.
[11] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 77, หน้า 168, ซัด โด พันเฌาะ เมาฎูอ์ อัซกุรอะฮาดีซ อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.), อักบัร เดะกอน, หน้า 247