Please Wait
9317
1.ด้านหนึ่งอัลกุรอานได้ให้นิยามเกี่ยวกับตำแหน่งและฐานะภาพอันสูงส่งของมนุษย์เอาไว้, และอีกด้านหนึ่งโองการจำนวนมาก,ได้กล่าวประณามและดูหมิ่นมนุษย์เอาไว้เช่นกัน.
2.การเคลื่อนไหวของมนุษย์มี 2 ลักษณะกล่าวคือ เคลื่อนไปสู่ความสูงส่งและความตกต่ำอย่างสุดโต่ง ชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดหรือมีพรมแดนแต่อย่างใด และสิ่งนี้สืบเนื่องมาจากศักยภาพอันสูงส่งในแง่ต่างๆ ของมนุษย์นั่นเอง
3.มนุษย์คือสรรพสิ่งหนึ่งที่มี 2 องค์ประกอบสำคัญได้แก่, องค์ประกอบด้านจิตวิญญาณและกายภาพหรือสภาวะของความเป็นเดรัจฉาน
4.มนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น, เนื่องมนุษย์ใช้ประโยชน์จากความต้องการและเจตนารมณ์เสรี ขณะที่แนวทางการดำเนินชีวิตของเขาได้เลือกสรรไปตามพื้นฐานที่ได้ถูกวางและสะสมเอาไว้
5.สำหรับบุคคลที่ได้เข้าถึงตำแหน่งเคาะลีฟะตุลลอฮฺ เขาก็จะได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ และสามารถควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแห่งความเป็นเดรัจฉานไว้ได้อย่างมั่นคง
เมื่อพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้บทสรุปว่า โองการที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กล่าวคือ : กลุ่มแรกของโองการได้สรรเสริญและยกย่องความยิ่งใหญ่ของมนุษย์, ดังเช่นโองการต่อไปนี้ :
1. “แน่นอน เราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัม เราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกและทางทะเล เราได้ให้ปัจจัยยังชีพทั้งหลายที่ดีแก่พวกเขา และเราได้ให้พวกเขามีเกียรติเหนือกว่าส่วนมากของผู้ที่เราได้สร้างโดยแท้”[1]
2. “จงรำลึกเมื่อพระผู้อภิบาลของเจ้าตรัสแก่มะลาอิกะฮฺว่า แท้จริงข้าจะตั้งผู้ปกครองคนหนึ่ง ณ แผ่นดิน มะลาอิกะฮฺได้ทูลว่า พระองค์จะทรงตั้งผู้ก่อการเสียหายขึ้นและหลั่งเลือด ณ แผ่นดิน กระนั้นหรือ ทั้งๆ ที่พวกเราถวายสดุดี ด้วยการสรรเสริญพระองค์ และเทิดทูนความบริสุทธิ์แด่พระองค์ พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้ารู้ดีในสิ่งที่สูเจ้าไม่รู้”[2]
3. “แท้จริงเราได้เสนอการรับผิดชอบแก่ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและขุนเขาทั้ง หลาย แต่พวกมันปฏิเสธจะแบกรับมันและกลัวต่อมัน และมนุษย์ได้แบกรับมัน แท้จริงเขาเป็นผู้อธรรมผู้โฉดเขลายิ่ง"[3] และ ...
ส่วนอัลกุรอานอีกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวประณามและวิจารณ์มนุษย์ไว้, ซึ่งบางครั้งได้ใช้คำพูดรุนแรงและดูถูก เช่น กล่าวว่า “มนุษย์คือผู้ไร้ศักยภาพ”[4] “มนุษย์คือผู้หยิ่งผยองและละเมิด”[5]
ส่วนโองการอีกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวประณามมนุษย์ไว้, ด้วยคำพูดที่รุนแรงประหนึ่งเป็นการดูถูกมนุษย์ด้วยคำกล่าวที่ว่า “มนุษย์จะไม่เบื่อหน่ายต่อการวิงวอนขอความดี แต่เมื่อความทุกข์ยากประสบแก่พวกเขาเข้าเขาก็จะท้อถอยหมดอาลัย และเมื่อเราได้ให้เขาลิ้มรสความเมตตาจากเรา หลังจากความทุกข์ยากได้ประสบแก่เขา แน่นอนเขาก็จะกล่าวว่า "นี่คือความสามารถของฉัน และฉันไม่คิดว่าวันโลกาวินาศนั้นจะเกิดขึ้น แต่ถ้าฉันถูกส่งกลับไปยังพระผู้อภิบาลของฉัน แน่นอนฉันจะมีคุณความดี ณ ที่พระองค์" ดังนั้นเราจะให้บรรดาผู้ปฏิเสธได้รู้เห็นในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ และแน่นอนเราจะให้พวกเขาได้ลิ้มรสการลงโทษอันรุนแรง และเมื่อเราได้ให้ความโปรดปรานแก่มนุษย์ เขาก็เมินหน้าและปลีกตัวออกห่าง และเมื่อความทุกข์ประสบแก่เขา เขาก็เป็นผู้วิงวอนขออย่างยืดเยื้อ”[6] “มนุษย์คือผู้ละเมิด”[7] “มนุษย์คือผู้อธรรมและเป็นผู้เนรคุณที่สุด”[8] “มนุษย์คือผู้อธรรมที่โง่เขลาที่สุด”[9] “มนุษย์คือคู่ปรปักษ์ตัวฉกาจ”[10] “มนุษย์คือผู้ขาดทุนและเสียหายที่สุด”[11] และ..
ขณะที่โองการต่างๆ ข้างต้น, ที่ได้นำเสนอมาได้ถูกตั้งคำถามว่า หมายความว่าอย่างไร? ความหมายและความเข้าใจของชนสองกลุ่มนี้ พิจารณาจากภายนอกเหมือนว่ามีความขัดแย้งกัน ไม่เหมือนกันและห่างไกลกันมากกระนั้นหรือ?
คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ เป็นการดีถ้าจะตอบด้วยอัลกุรอาน, เพราะว่าอัลกุรอานบางโองการนั้นเป็นตัวอธิบายอีกบางโองการ
อัลกุรอาน บทบัยยินะฮฺ กล่าวว่า :
“แท้จริง บรรดาผู้ปฏิเสธในหมู่ชาวคัมภีร์และเหล่าผู้ตั้งภาคี จะอยู่ในนรกญะฮันนัม พวกเขาเป็นผู้พำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล ชนเหล่านั้นเป็นมนุษย์ที่ชั่วช้ายิ่ง, แต่สำหรับบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลาย ชนเหล่านั้นเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐยิ่ง”[12]
อัลกุรอานทั้งสองโองการนี้ติดกันและอยู่ในบทเดียวกัน, ซึ่งได้กล่าวว่า มนุษย์ คือสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุดและเลวที่สุดในขณะเดียวกัน. ประเด็นนี้เป็นตัวอธิบายได้เป็นอย่างดีว่า มนุษย์สามารถขึ้นไปสู่จุดสูงสุด และตกต่ำที่สุดได้โดยไม่มีความจำกัด หมายความว่าถ้ามนุษย์มีศรัทธามั่นคงและประกอบคุณความดี เขาจะกลายเป็นสิ่งที่ถูกสร้างของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ดีที่สุด แต่ถ้าเขาได้ระหนไปสู่การหลงทาง ดื้อรั้น อวดดี และหยิ่งผยองแล้วละก็เขาจะตกต่ำ จนกระทั่งว่าเป็นสิ่งถูกสร้างที่เลวที่สุดของพระองค์
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : “อัลลอฮฺ ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้โดยแบ่งการสร้างออกเป็น 3 ประเภท : ทรงสร้างมวลมลาอิกะฮฺ, สร้างสรรพสัตว์, และสร้างมนุษย์, สำหรับมวลมลาอิกะฮฺ พระองค์ทรงมอบสติปัญญาโดยปราศจากกิเลสและโมหะแก่พวกเขา, ส่วนสรรพสัตว์มีแต่กิเลสและโมหะไม่มีสติปัญญา, ส่วนมนุษย์นั้นคือศูนย์รวมของทั้งสอง สุดแต่ว่าอำนาจฝ่ายใดจะมีอำนาจเหนืออีกฝ่าย, ดังนั้น ถ้าสติปัญญามีอำนาจเหนือกิเลส, บุคคลนั้นก็จะประเสริฐกว่ามลาอิกะฮฺ แต่ถ้ากิเลสมีอำนาจเหนือสติปัญญา บุคคลนั้นก็จะเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน”[13]
จากรายงานดังกล่าวนี้สามารถสรุปได้ว่า มนุษย์นั้นเป็นสิ่งถูกสร้างที่มีสององค์ประกอบสำคัญในตัว (สติปัญญาและอำนาจฝ่ายต่ำ), แน่นอนความพยายามและสัญชาติญาณแห่งกิเลสก็มี 2 ขั้วด้วยเช่นกัน (ความพยายามและความดึงดูดด้านจิตวิญญาณหรือปัญญา และสัญชาติญาณแห่งความเป็นเดรัจฉานหรืออำนาจฝ่ายต่ำ) ซึ่งมนุษย์สามารถใช้พลังและเจตนารมณ์เสรี ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมอบแก่มนุษย์ทุกคน เป็นตัวเลือกสรรดังนั้นมนุษย์มนุษย์จึงมีสิทธ์ที่จะเลือกทำให้ตัวเองสูงส่ง ไปสู่ความเป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์ หรือจะเลือกทำให้ตัวเองตกต่ำไปสู่ก้นบึ้งของความเลว ดังที่อัลกุรอานได้ให้นิยามว่า “พวกเขาประหนึ่งปศุสัตว์ ทว่าพวกเขาเลวยิ่งกว่าเสียอีก”[14]
ดังนั้น โองการอัลกุรอานได้ปลดเปลื้องม่านแห่งความสัตย์จริงนี้ให้ปรากฏชัดเจนแล้ว ซึ่งมนุษย์ทั้งหลายอยู่ในขั้นของความเป็นไปได้โดยศักยภาพ ซึ่งเขามีคุณภาพพอที่จะเป็นคนดี เป็นผู้ทีเกียรติยศที่สุด หรืออาจมีความประเสริฐกว่ามวลมลาอิกะฮฺทั้งหลายก็ได้ และแน่นอน ท่ามกลางการขวนขวายพยายามด้วยความเป็นไปได้ในศักยภาพ มนุษย์อาจก้าวไปถึงยังตำแหน่ง เคาะลิฟะตุลลอฮฺก็ได้, แต่ถ้ามนุษย์ไม่ยอมใช้ประโยชน์จากความเมตตาและการอนุเคราะห์พิเศษจากอัลลอฮฺ โดยฝ่าฝืนกระทำผิดแล้วละก็, เขาก็จะได้รับการประณามหยามเหยียดจากพระองค์ ดังที่ได้หยิบยกตัวอย่างไปแล้ว
สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดค้นคว้าจาก :
อัลมีซาน (ฉบับแปลฟาร์ซียฺ), เล่ม 16, หน้า 524 – 527, ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 8, หน้า 242, เล่ม 17, หน้า 451 - 457
[1] อัลกุรอานบทอัลอิสรอ, โองการ 70
[2] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, โองการ 30
[3] อัลกุรอาน บทอะฮฺซาบ, โองการ 72
[4] อลกุรอาน บทฟุซซิลัต, โองการ 49-50-51
[5] อัลกุรอาน บทชูรอ, โองการ 27
[6] อัลกุรอาน บทฟุซิลัต, โองการ 49, 50, 51.
[7] อัลกุรอาน บทชูรอ, โองการ 27.
[8] อัลกุรอาน บทอิบรอฮีม, โองการ 34.
[9] อัลกุรอา บทอะฮฺซาบ, โองการ 72.
[10] อัลกุรอาน บทยาซีน, โองการ 77.
[11] อัลกุรอาน บทอัศรฺ, โองการ 2.
[12] อัลกุรอาน บทบัยยินะฮฺ, โองการ 6-7
[13] ตัฟซีรนูรุซซะเกาะลัยนฺ, เล่ม 3, หน้า 188
[14] "اولئک کالانعام بل هم اضل"อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 179.