การค้นหาขั้นสูง

คลังคำตอบ(คำสำคัญ:ความรังเกลียด)

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ดิฉันเป็นวัยรุ่นคนหนึ่ง อยากจะทราบว่าอะไรคือเป้าหมายของชีวิต?
    8041 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    อิสลามมีคำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตมากมายกุรอานได้ชี้แนะว่า “อิบาดัต” คือเป้าหมายของมนุษย์อันจะนำมาซึ่งการบรรลุธรรมตลอดจนความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้าอีกนัยหนึ่งจุดประสงค์ของชีวิตก็คือการแข่งขันกันทำความดีซึ่งฮะดีษหลายบทก็ได้แจกแจงถึงรายละเอียดของเป้าหมายชีวิตอย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาฮะดีษของบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)นั้นจำเป็นต้องคำนึงว่าแม้ฮะดีษเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกคนแต่การที่จะอ้างฮะดีษบทใดบทหนึ่งถึงพวกท่านเหล่านั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงเงื่อนไขบางประการซึ่งจะนำเสนอในหน้าคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • อิมามซะมาน (อ.) มีความคล้ายเหมือนและมีความต่างอย่างไร กับผู้ถูกสัญญาในศาสนาอื่นทั้งศาสนาที่มาจากฟากฟ้าและมิได้มาจากฟากฟ้า?
    6820 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ศาสนาที่มีชื่อเสียงบนโลกนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาแห่งฟากฟ้าหรือศาสนาที่นับถือพระเจ้าจะมีจุดร่วมเดียวกันกล่าวคือจะมีชายคนหนึ่งปรากฏกายออกมาซึ่งบุคคลนั้นจะมีคุณค่ามากมายและรัฐบาลสากลของเขาจะสร้างความยุติธรรมความสงบสุข
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    15162 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
    6757 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/19
    โดยทั่วไป สัมพันธภาพจะไม่เกิดขึ้นระหว่างคนแปลกหน้าสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นอกจากจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้จักและมีไมตรีจิตต่อฝ่ายตรงข้าม จึงจะค่อยๆสานเป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคตกรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราอย่างอบอุ่น  แต่เราซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์ หากได้รู้จักฐานะภาพของท่านอย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถสานสัมพันธ์และติดต่อกับท่านได้ ดังที่อุละมาอ์ระดับสูงหรือผู้ที่สำรวมตนขัดเกลาจิตใจบางท่านสามารถติดต่อกับท่านอิมาม(อ.)ได้ในอดีตกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสานสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท 1.เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตใจ 2.เชื่อมสัมพันธ์ในระดับการเข้าพบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองประเภทนี้จะมิไช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากต้องการจะมีความสัมพันธ์ในระดับเข้าพบ ก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ จะต้องมีสัมพันธภาพทางจิตใจพร้อมกับจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็นด้วย จึงจะถือเป็นการตระเตรียมโอกาสที่จะได้เข้าพบท่าน(อ.) ...
  • สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    6904 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก” ...
  • จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
    13588 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงามความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา ...
  • ขณะวุฎูอฺ แต่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จำเป็น, โดยมีบุคคลอื่นราดน้ำลงบนมือและแขนให้เรา ถือว่ามีปัญหาทางชัรอียฺหรือไม่?
    6231 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    วุฎูอฺ มีเงื่อนไขเฉพาะตัว ดังนั้น การไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง เป็นสาเหตุให้วุฎูอฺบาฏิล หนึ่งในเงื่อนไขของวุฎูอฺคือ การล้างหน้า มือทั้งสองข้าง การเช็ดศีรษะ และหลังเท้าทั้งสองข้าง ผู้วุฎูอฺ ต้องทำด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่น วุฎูอฺ ให้แก่เขา, หรือช่วยเขาราดน้ำที่ใบหน้า มือทั้งสองข้างแก่เขา หรือช่วยเช็ดศีรษะและหลังเท้าทั้งสองแก่เขา วุฎูอฺ บาฏิล[1] มีคำกล่าวว่า บรรดานักปราชญ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขนี้ ต่างกัน : 1.บางท่านแสดงทัศนะว่า : บุคคลต้อง วุฏูอฺ ด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่นช่วยเขาวุฎูอฺ ในลักษณะที่ว่าถ้าคนอื่นเห็นจะไม่พูดว่า บุคคลดังกล่าวกำลังวุฎูอฺ ถือว่าวุฏูอฺ บาฏิล
  • จะเชิญชวนชาวคริสเตียนให้รู้จักอิสลามด้วยรหัสยนิยมอิสลาม(อิรฟาน)ได้อย่างไร?
    10529 รหัสยทฤษฎี 2554/08/14
    คุณสามารถกระทำได้โดยการแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติเด่นของอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) และเล่าชีวประวัติของบรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงของอิสลามและสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์1). อิรฟานแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันอิรฟานเชิงทฤษฎีและอิรฟานภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักของวิชาอิรฟานเชิงทฤษฎีก็คือก. แจกแจงเกี่ยวกับแก่นเนื้อหาของเตาฮี้ด(เอกานุภาพของอัลลอฮ์)ข. สาธยายคุณลักษณะของมุวะฮ์ฮิด(ผู้ยึดถือเตาฮี้ด)ที่แท้จริงเตาฮี้ดในแง่อิรฟานหมายถึงการเชื่อว่านอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีสิ่งใดที่“มีอยู่”โดยตนเองทั้งหมดล้วนเป็นภาพลักษณ์ของอัลลอฮ์ในฐานะทรงเป็นสิ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวทั้งสิ้น
  • จากเนื้อหาของดุอากุเมล บาปประเภทใดที่จะทำให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาด บะลาถาโถมมา และทำให้ดุอาไม่ได้รับการตอบรับ?
    10058 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/13
    โดยปกติแล้วบาปทุกประเภทจะเป็นเหตุให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาดบาปทุกประเภทสามารถทำให้เกิดบะลายับยั้งการตอบรับดุอาและริซกีของมนุษย์ได้ทั้งสิ้นเหล่านี้เป็นผลกระทบตามธรรมชาติของการทำบาปซึ่งตำราวิชาการของเราก็เน้นย้ำไว้เช่นนี้อย่างไรก็ดีบางฮะดีษเจาะจงถึงผลลัพท์ของบาปบางประเภทเป็นการเฉพาะอาทิเช่นการกดขี่ข่มเหงผู้อื่น
  • บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่?
    10530 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    ตามหลัก “لاشکّلکثیرالشک”แล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน อุละมาส่วนใหญ่เชื่อว่าหลักการนี้มิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60086 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57474 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42167 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39269 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38910 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33970 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27986 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27908 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27732 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25746 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...