การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12691
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/12/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2385 รหัสสำเนา 11565
คำถามอย่างย่อ
หลักวิชามนุษย์ศาสตร์และจิตวิทยา ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นตัวเอง ส่วนหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม จริยธรรม และวิชารหัสยลัทธิ, จะกล่าวถึงการไว้วางใจและมอบหมายแด่พระเจ้า แล้วคุณคิดว่าทั้งสองมีความขัดแย้งกันไหม?
คำถาม
หลักวิชามนุษย์ศาสตร์และจิตวิทยา ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นตัวเอง ส่วนหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม จริยธรรม และวิชารหัสยลัทธิ, จะกล่าวถึงการไว้วางใจและมอบหมายแด่พระเจ้า แล้วคุณคิดว่าทั้งสองมีความขัดแย้งกันไหม?
คำตอบโดยสังเขป

การที่จะรู้ถึงความแตกต่างและความไม่แตกต่างระหว่างความเชื่อมั่นตัวเอง กับการไว้วางใจหรือมอบหมาย ขึ้นอยู่กับการได้รับความเข้าใจของทั้งสองคำ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมั่นตนเอง, สามารถอธิบายได้ 2 ความหมายกล่าวคือ  :

1. การรู้จักศักยภาพ ความสามารถ การพึ่งพา และการได้รับเพื่อที่จะเข้าถึงตัวตนของความปรารถนา และสติปัญญาที่แท้จริง

การเก็บเกี่ยวจะไม่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมของความไว้วางใจเลยแม้แต่น้อย ความพิเศษของการตีความนี้คือ เข้ากันได้กับสองการตีความหลักและเป็นแก่ของศาสนา"ความรู้ตนเอง" และการรู้จักความโปรดปรานต่างๆพร้อมกับการใช้ประโยชน์.

2.  ความเชื่อมั่นตนเอง ในลักษณะที่ว่าเป็นการพึ่งพาสิ่งที่มีและความรู้ของตน และขอให้ประสงค์ของพวกเขาเป็นแหล่งแห่งความดีเป็นจุดเริ่มต้นและความสำเร็จ

การให้ความหมายเช่นนี้ ไม่เพียงแต่ไม่สอดคล้องกับคำสอนทางศาสนาเท่านั้น ทว่ายังเป็นเหมือนภาพลวงในจินตนาการ ความเชื่อมั่นทำนองนี้อันตรายอย่างยิ่ง" ไม่มีสิ่งใดอื่นนอกเสียจากการหลอกตัวเองและการไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ท่านอิมามอะลี (.) กล่าวถึงการเชื่อมั่นตัวเองว่า "ผู้ใดไว้วางใจตัวเองว่าเท่ากับเขาได้ทรยศตัวเอง"

ความเข้าใจเกี่ยวกับ การไว้วางใจ โดยหลักการแล้วคำว่า ตะวักกัล มาจากคำว่า วะกาลัต หมายถึงการเลือกตัวแทน ซึ่งจุดประสงค์ด้านหนึ่งอยู่ในทิศทางเดียวกันกับของความเชื่อมั่น (ในความหมายที่กล่าวถึง) ความไว้วางใจที่ : เมื่อมนุษย์เผชิญหน้ากับปัญหาอันใหญ่หลวง เขาอย่ามีความรู้สึกว่าตนด้อยค่าและอ่อนแอ ทว่าด้วยการอาศัยอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า เขาจะต้องได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน การเผชิญหน้ากับอุปสรรคปัญหาที่ซับซ้อน, และเขาได้พยายามที่จะเปิดปมปัญหา ในประเด็นที่ตนไร้ความสามารถก็จะมอบความไว้วางใจต่อพระเจ้า หมายถึงตนได้พึ่งพาพระเจ้า และไม่ได้หยุดยั้งความพยายาม ทว่าตนยังมีความสามารถในการทำบางสิ่งบางอย่างใหม่อีกครั้ง ขณะเดียวกันตนก็ตระหนักเสมอว่าพระเจ้าคือตัวการหลัก เนื่องจากเพียงแค่กระพริบตาเท่านั้น ถ้าเราได้แยกออกจากแหล่งที่มาของอำนาจและพลังทั้งหมดของพระองค์ หรือแยกผลกระทบอันเป็นปัจจัยธรรมชาติ จากประสงค์ของพระเจ้าแล้วละก็ถือว่าเป็นชิริกประเภทหนึ่งทันที เนื่องจากปัจจัยธรรมชาติทั้งหมดที่มีอยู่ล้วนมากจากพระองค์ทั้งสิ้น และทั้งหมดเป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์

แต่การตีความในความหมายที่สอง ของความเชื่อมั่นตัวเอง ไม่เข้ากันกับความไว้วางใจ เพราะถือว่าปัจจัยและความสามารถต่างๆ เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่เป็นเอกเทศเมื่ออยู่ต่อหน้าพระประสงค์ของพระองค์ และตนได้พึ่งพาสิ่งอื่นนอกเหนือจากพระองค์ ตลอดจากความเข้าใจก็ตรงกันข้ามกับการมอบหมายความไว้วางใจที่มีต่อพระเจ้า

ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ็อล) กล่าวว่า "ฉันได้ถามกาเบรียล (ญิบรออีล) ว่า : ความไว้วางใจหมายถึงอะไร ตอบว่า : หมายถึงการรับรู้ถึงความจริงที่ว่าสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย ไม่ให้คุณและไม่ให้โทษใดๆ และการที่เราได้ถอดถอนสายตาออกจามือและทรัพย์สินของประชาชน และเมื่อปวงบ่าววางตนได้เช่นนี้เวลานั้นเขาก็จะไม่เพื่อสิ่งอื่นใดอีก นอกจากอัลลอฮฺ และจะไม่มีความหวังกับสิ่งอื่นใดอีก นอกจากพระองค์ และทั้งหมดเหล่านี้คือแก่นแท้และขอบเขตของความไว้วางใจ"

คำตอบเชิงรายละเอียด

การติดตามความแตกต่างระหว่าง "ความเชื่อมั่นตนเอง" และ "ความไว้วางใจ" ขึ้นอยู่กับการความเข้าใจของทั้งสองแนวคิดดังกล่าว จะอธิบายเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นความเข้าใจทั้งสองนี้ :

. ความเข้าใจเกี่ยวกับความมั่นใจในตนเอง :

สำหรับคำข้างต้น สามารถพิจารณาถึงความแตกต่างกันของทั้งสองได้ดังนี้ :

1) ความเชื่อมั่นตนเองหมายถึง การรู้จักความสามารถ ศักยภาพต่างๆ ตลอดจนการพึงพาอาศัย และการเก็บเกี่ยวเพื่อไปให้ถึงยังความต้องการ และบรรลุความหวังที่แท้จริงของตัวตน

ความเข้าใจดังกล่าวนั้นไม่เพียงแต่ ไม่ขัดแย้งกับบรรทัดฐานของศาสนาเท่านั้น ทว่าในความเป็นจริงแล้วก็คือความต้องการของพระเจ้า ซึ่งเมื่อสัมพันธ์ไปยังการค้นหาคุณสมบัติดังกล่าวนั้น ถือว่าเรามีหน้ารับผิดชอบ การที่เราไม่ขวนขวายหาความพิเศษนั้น เท่ากับเราได้ละทิ้งสิ่งมีค่าไปมากมาย อย่างน้อยที่สุดคือความเสียหายที่เกิดขึ้น ความล้มเหลวในชีวิต และความไม่มีประโยชน์ในการแสวงหาความพึงพอพระทัยจากพระเจ้า ดังนั้น ความเข้าใจอันสูงส่งเกี่ยวกับ "ความเชื่อมั่นตนเองจึงได้รับการสรรเสริญไว้

ปัจจัยหลายประการที่ยอมรับ ความหมายแรกของ "ความเชื่อมั่นตนเอง" กล่าวคือ

1.1  การที่รู้ตัวเองว่า ฉันเป็นใคร ? ฉันมีความสามารถอะไรบ้าง ? จุดแข็งและจุดอ่อนของฉันอยู่ตรงไหน ? คุณลักษณะดีสิ่งใดบ้างที่มีอยู่ในตัวฉัน ? หน้าที่ความรับผิดชอบของฉันคืออะไร ? ความมั่งมีและสิ่งมีค่าทั้งวัตถุปัจจัยและศีลธรรมฉันคืออะไร ? ฉันควรจะมีแผนการอะไรบ้างจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลกำไร และเป็นประกับฉันได้มากที่สุด ? และผลสะท้อนทั้งหลายล้วนมาจากการตีความหมายสำคัญ 2 ประการเอาไว้กล่าวคือ "ความรู้ตนเอง" และ "การรู้จักใช้ความโปรดปราน" ความเชื่อมั่นที่มีต่อตัวเอง ไม่ใช่สิ่งใดอื่นนอกจากการพิจารณาไปยังองค์รูปที่อยู่เหนือมนุษย์ และการพิจารณาไปยังมิติที่สูงส่งของมนุษย์" ซึ่งสิ่งนั้นไม่ต้องผ่านการรู้จักความโปรดปรานแต่อย่างใด โดยพื้นฐานแล้วพระเจ้าทรงมอบความโปรดปรานแก่มนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว และพระองค์ได้ให้มนุษย์เป็นผู้รับผิดชอบในความโปรดปรานเหล่านั้น ซึ่งพระองค์จะสอบถามจากเขา ดังนั้น การมีหน้าที่รับผิดชอบความโปรดปรานนั้น ไม่ใช่การพึ่งพาในสิ่งที่มี การเชื่อมั่นตนเอง และการได้รับประโยชน์จากความโปรดปราน การมีความรู้สึกที่ดี และความมั่นคง

ดังนั้น ความหมายของ "การมีความเชื่อมั่น" ก็คือ : การเชื่อว่าฉันก็เป็นบ่าวคนหนึ่ง จากปวงบ่าวทั้งหลายของพระเจ้า ซึ่งพระองค์มีความโปรดปรานเหล่านี้ และเราสามารถรับเอาความโปรดปรานเหล่านั้น มิเช่นนั้นแล้วเท่ากับเราไม่ได้ขอบคุณพระองค์

1.2  ด้วยเหตุนี้ เราจึงยอมรับความหมายแรกของ "ความเชื่อมั่น" การพิสูจน์ ความเป็นอิสระ การเชื่อมั่นตนเอง การไม่พึ่งพาคนอื่น และความภาคภูมิใจในตัวเอง อีกนัยหนึ่ง การเชื่อมั่นตนเอง คือการยอมรับอย่างชาญฉลาด การนำข้อมูลและผลประโยชน์อันทรงคุณค่าไปใช้ ในลักษณ์ที่ว่าเป็นความภาคภูมิใจสำหรับตนเองและอิสลาม ตรงกันข้ามกับความพ่ายแพ้ความแปลกหน้า การวิวาท ความเจ็บช้ำ และความกลวงว่างเปล่าของมนุษย์ ซึ่งไม่มีความเป็นมนุษย์หลงเหลืออยู่อีกนอกจากชื่อเท่านั้น

ด้วยความเชื่อมั่นตนเอง ก่อให้เกิดการจัดระเบียบความคิด และด้วยนิยามที่ว่า การปรับปรุงความคิด นั่นเองทำให้เราได้รับกุญแจทองพิชิตความสำเร็จ มิเช่นนั้นแล้วเมื่อพวกเผด็จการต้องการสร้างอิทธิพลกับประชาชาติ หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง อันดับแรกพวกเขาจะจู่โจมด้านวัฒนธรรมก่อน โดยกล่าวว่า : พวกคุณไม่มีสิ่งใดเลย ! ความคิดของพวกคุณล้าหลัง และตกสมัยไปมาก ตอนนี้มันเร็วเกินไปสำหรับพวกคุณที่จะมาพูดถึง! ความอิสระ หรือเสรีภาพ ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้ว แทนที่จะเชื่อมั่นตนเอง แต่กลับพ่ายแพ้ ยอมล้าหลัง และเมือคิดว่าตนเองยังอยู่ใต้จุดศูนย์ ก็เริ่มหวั่นไหวปรบมือตีเท้าตนเอง จากตัวเองก็กลายเป็นคนอื่น และจะสารภาพว่า ตนเองนั้นยากจนเป็นขอทาน ซึ่งประเด็นนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงประชาชน วัฒนธรรม และศาสนา

ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ต้องประสบกับ ความอ่อนแอและความว่างเปล่าทางจิต ความทุกข์ทรมานจิตใจ พวกเขาคือผู้ที่คิดว่าตนเองต่ำต้อยด้อยค่า

นักจิตวิทยาท่านหนึ่งได้วิเคราะห์ว่า :

ความภาคภูมิใจในตนเอง มีบทบาทสำคัญการแสดงออกของพฤติกรรมที่สมเหตุสมผล หรือพฤติกรรมที่ผิดปกติและไม่สอดคล้องกันของบุคคลต่างๆ ดังเช่นผลการวิจัยที่สรุปว่า ความภาคภูมิใจในตนเอง อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการพัฒนา หรือกระชับการป้องกัน หรือการปรับพฤติกรรมบางส่วนของมนุษย์

ท่านอิมามฮาดี (.) กล่าวว่าบุคคลใดดูถูกตัวเองและพบว่าตนไม่มีค่า ในด้านในของเขาย่อมมีความรู้สึกไม่ดี รู้สึกด้อยกว่า ดังนั้น จะไม่ปลอดภัยจากความไม่ดีของเขา."

ดังนั้น ความเชื่อมั่นตนเอง ที่ได้รับความชื่นชมและเป็นที่ยอมรับนั้น จะเป็นสาเหตุทำให้เรามีความภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งผลของความภาคภูมิใจในตนเองก็คือ ความอดทนและความสามารถนั่นเอง

ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ็อล ) กล่าวว่า "ความอดทนขันติของสุภาพบุรุษ สามารถถอดถอนภูเขาได้."[1]

ท่านเฆาะซาลี กล่าวว่า "คำอธิบายของคำว่า เฮมมัต คือความอดทนขันติตัวตน การมีจิตใจมั่นคงเปี่ยมล้น ความอดทนของบรรดาผู้อาวุโสคือ การรู้จักตัวเองว่าเป็นผู้มีเกียรติยศ[2]

1.3  คุณสมบัติที่ดีอีกประการหนึ่งของ ความเชื่อมั่นตนเอง คือมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมของความไว้วางใจ

2) ความหมายที่สองของ ความมั่นใจในตนเองคือ : ความเชื่อมั่นในตัวเองเลยเถิดไปจนถึงที่ว่า ตนได้พึ่งพิงเฉพาะความมั่งมีและความรู้ของตน ความประสงค์ของตน คือแหล่งและเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จทั้งหลาย

ความเข้าใจเหล่านี้ไม่เพียงแต่ ไม่สอดคล้องกับคำสอนทางศาสนาเท่านั้น ทว่ายังเป็นภาพลวงตาที่อยู่ในความคิดของมนุษย์ แน่นอน ความเชื่อมั่นตนเองเหล่านี้ ล้วนถูกตำหนิและได้รับคำประณามทั้งสิ้น เพราะเป็นความเชื่อมั่นในอัตตาตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้เองที่เป็นจุดของความหายนะ ท่านอิมามอะลี (.) กล่าวถึงการเชื่อมั่นตัวเองประเภทนี้ว่า "ผู้ใดไว้วางใจตัวเองว่าเท่ากับเขาได้ทรยศตัวเอง"

เพราะเหตุใด ความหมายของ ความเชื่อมั่นตนเอง ในความหมายนี้จึงได้รับการตำหนิ ? ปัจจัยต่อไปนี้ถือเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ความหมายข้างต้นไม่เป็นที่ยอมรับ

1. สมมติฐานเท็จจะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดบุคลิกภาพโกหกและทำลายความสมดุล เมื่อเราคิดได้ว่า"เพียงพอแล้วที่ฉันต้องการ" "สิ่งที่ถูกต้องคือสิ่งที่ฉันเข้าใจ ดังนั้น ทัศนะของฉันจะต้องเป็นวิชาการ" "ไม่มีอุปสรรคใดบนหนทางที่ฉันก้าวเดินและ ... " ทัศนะคติและและความคิดเช่นนี้เป็นสาเหตุก่อให้เกิด"การปฏิเสธบุคลิกภาพมากยิ่งขึ้น" และด้วยความเร็วความหลงระเริงในความภาคภูมิใจในตัวเอง", ทำให้มองว่าตนเองเป็นบุคคลสำคัญขึ้นมาทันที เป็นที่ชัดเจนว่าพฤติกรรมหลอกลวงเหล่านี้จะไปนำไปสู่การฝึกฝนจิตวิญญาณ การจิตนาการในทางไม่ดี, ซึ่งล้วนทำลายความสมดุลและบุคลิกภาพอันแท้จริงของตนเองในที่สุด

อย่างไรก็ตามเราจำเป็นต้องรู้จักพรมแดนและควรให้ความสำคัญขอบเขตและปัจจัยอื่น  ความเป็นจริงต่างๆ เพื่อความเป็นส่วนตัว การมีความมั่นใจตนเองแบบแปลกประหลาดนี้, จะไม่เหลือที่ให้ทำการประเมินความจริงในความสามารถของตนอีกต่อไป ท่านอิมาม อะลี (.) กล่าวว่า :ถ้าเจ้าต้องการความเมตตาจากพระเจ้า, เจ้าจะต้องรู้จักมิติของศักยภาพและเขตแดนของความไร้สามารถเสียก่อน มิเช่นนั้นเจ้าก็จะเลยเส้นของตนเอง เจ้าจะสร้างความหวัง ความก้าวหน้าและความเมตตาให้เป็นรากฐานแห่งทรัพย์สมบัติ[3]

ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่าอิสลามได้ห้ามมิให้บุคคลสนใจตนเองในลักษณะนี้ตั้งแต่แรก และยังได้เตือนว่าถ้าหากเจ้าไม่ปล่อยวางจิตใจเช่นออกไปละก็ เจ้าก็จะได้พบกับผลที่เลวร้าย 2 ประการ กล่าวคือ ความยโสและทระนง กับความภาคภูมิใจ ตนเองในทางที่ผิด

"นอกเหนือจากความเสียหายที่เกิดจากความยโสโอหัง [ออกนอกความผิดของตนเองและมีความสุขกับพฤติกรรมของตน] ต้นไม้แห่งความผิดร้ายแรงนี้จะก่อให้เกิดบาปกรรมใหญ่จำนวนมากที่เชื่อมโยงกับเขา ... ม่านแห่งความยโสโอหังและสิ่งปกคลุมความหลงตัวเอง จะกลายเป็นอุปสรรคชั่วร้ายขวางกั้นไม่ให้มองเห็นความชั่ว และความผิดของตนเอง และนี่คือความทุกข์ เป็นความเศร้าสลดใจที่สุดที่กีดกันมนุษย์ให้ออกห่างจากความสมบูรณ์แบบทั้งหมด ความเสียหายอีกประการหนึ่งที่เกิดจากความยโสโอหัง ...คือจะทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเองและการกระทำของตน ซึ่งจะกลายเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์กลายเป็นคนโง่เขลาไร้โชค คิดว่าตนไม่จำเป็นต้องพึ่งพระเจ้าอีกต่อไป ไม่จำเป็นต้องใส่ใจในความโปรดปรานของพระองค์[4]

2. ความเชื่อมั่นในภารกิจของตน เท่ากับเป็นการปฏิเสธเตาฮีดอัฟอาล (ความเอกเทศในการกระทำ) ของพระเจ้า

ในวิชาด้านหลักความเชื่อได้พิสูจน์แล้วว่า ทุกการมีอยู่ ทุกการเคลื่อนไหว และทุกการกระทำบนโลกนี้ ล้วนกลับไปหาอาตมันบริสุทธิ์ของพระเจ้าทั้งสิ้น พระองค์คือปฐมเหตุของกลไกและเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสาเหตุ (ปฐมสาเหตุของทุกสาเหตุ) แม้แต่การกระทำที่เกิดจากเรา ในความหมายหนึ่งการกระทำนั้นมาจากพระองค์ พระองค์คือผู้ในพลังและกำลังไว้ในเจตจำนงเสรีของเรา พระองค์ให้ความเสรีและความประสงค์แก่เรา แต่การกำกับของพระเจ้าไม่ได้หมายความว่าพระองค์ขจัดเราออกไปจากสาระบบ เนื่องจากพระองค์ได้มอบพละกำลังและเจตจำนงเสรีแก่เรา ในความเป็นจริงเราคือผู้ก่อให้เกิดการกระทำต่างๆ เราคือผู้รับผิดชอบการกระทำเหล่านั้น ขณะเดียวกันเราก็ไม่ถอดถอนพระเจ้าออกไปจากผู้กระทำ เนื่องจากทุกสิ่งที่เรามีอยู่ล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น และสิ่งเหล่านั้นย่อมกลับไปหาพระองค์ (ไม่มีผลอันใดในสรรพสิ่งนอกจากอัลลอฮฺ)[5] ในขณะที่ถ้าเพื่อว่าเราคิดว่า ตัวเราคือศูนย์กลางหลัก เท่ากับเราได้ทึกทักเอาว่าเราเป็นผู้กระทำโดยไม่มีเหตุผล ทะนงตนเองต่อหน้าความประสงค์และอำนาจสมบูรณ์ของพระเจ้า

. ความเข้าใจเกี่ยวกับความไว้วางใจ

"ตะวักกัลมาจากรากศัพท์คำว่า "วะกาลัต" หมายถึงการเลือกผู้แทน ขณะเดียวกันเราก็รู้ว่า

อันดับแรก การเลือกตัวแทนปฏิบัติเพื่อกระทำในบางภารกิจ,หรือปกป้องเราจากบางภารกิจ สิ่งจำเป็นในตรงนี้คือมนุษย์จะต้องไร้ความสามารถในการกระทำสิ่งนั้นเสียก่อน ตรงนี้จึงได้ใช้ความสามารถของคนอื่น และด้วยความช่วยเหลือของเขาทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาลงได้

ประการที่สอง ตัวแทนที่ดีคือบุคคลที่อย่างน้อยต้องมี 4 คุณสมบัติดังนี้ มีความรู้เพียงพอ, มีความไว้วางใจ, มีความสามารถ,และมีความเห็นอกเห็นใจ[6]

ในการอธิบายความหมายแรกของ ความเชื่อมั่น (ความรู้ด้วยตนเอง และความภาคภูมิใจในตนเองควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้ความสามารถและศักยภาพที่มี) จะไม่ขัดแย้งกับความไว้วางใจเชย เพราะ, (ผ่านไปแล้วสำหรับภารกิจที่เป็นของศาสนาอย่างแน่นอน เช่น ความรู้ด้วยตนเอง และความเข้าใจและการใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานซึ่งซ่อนอยู่ใน ความหมายดังกล่าว) โดยทั่วไปความไว้วางใจที่แท้จริงก็มีรากที่มาจากความหมายนี้และมีความเชื่อมั่นตนเอง : แม้ว่าจุดประสงค์ของความไว้วางใจ,คือการที่มนุษย์จะต้องไม่แสดงความอ่อนแอกับปัญหาร้ายแรง ต้องไม่รู้สึกว่าตนด้อยน้อยค่า ทว่าด้วยการพึงพิงอำนาจที่ไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า จะทำให้ตนได้รับชัยชนะและประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ ความหมายหนึ่งของ ความไว้วางใจคือ การสร้างความหวัง การเติมเต็มพลัง การสนับสนุน,อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความมั่นคง ดังนั้น การไว้วางใจในพระเจ้าจะไม่มีความหมายอื่นนอกเหนือไปจากนี้ กล่าวคือ

เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคปัญหา เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ความเป็นปฏิปักษ์รุนแรงของฝ่ายตรงข้ามความ ความซับซ้อนของเส้นทางและทางตันสำหรับตนเอง ด้วยความไว้วางใจในอัลลอฮฺ ตนได้พยายามเปิดปมเงื่อน ตนได้มองหมายความไว้วางใจในพระเจ้า และพึ่งพาพระองค์ โดยที่ตนได้ดิ้นรนและไม่ลดละความพยายาม ดังนั้น ในทุกทีพระเจ้าคือผลหลักของทุกการกระทำ เนื่องจากทุกที่ที่สายตาได้จับจ้องไป ล้วนเป็นแหล่งที่มาของอำนาจและพละกำลังของพระองค์ทั้งสิ้น

ถ้าบางคนคิดว่าการให้ความสนใจไปในโลกของสาเหตุ และปัจจัยธรรมชาติแล้ว สิ่งนี้ไม่สอดคล้องกับจิตวิญญาณของความไว้วางใจ, เขาเข้าใจผิดพลาดอย่างรุนแรง เนื่องจากการแยกผลของปัจจัยทางธรรมชาติออกจากประสงค์ของพระเจ้าถือเป็นชิริกประเภทหนึ่ง! เพราะว่าปัจจัยธรรมชาติทั้งหมดที่มี ล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น ปฏิบัติไปตามคำสั่งของพระองค์ แน่นอน ถ้าเราคิดว่าปัจจัยและพลังอำนาจต่างเป็นอิสระจากพระองค์ และเผชิญหน้ากับพระประสงค์ของพระองค์ ตรงนี่เองที่จะไม่สอดคล้องกับจิตวิญญาณของความไว้วางใจ[7]

สรุปสาระสำคัญของคำพูด :ความภาคภูมิใจในตนเองหมายถึง การอาศัยในความกรุณาธิคุณ และการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มี การละทิ้งความสิ้นหวัง สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับความไว้วางใจ แล้วจะไม่ให้เป็นเช่นนี้ได้อย่างไร ขณะที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ็อล ) คือผู้ที่มอบความไว้วางใจต่อพระเจ้า ทั้งที่ท่านไม่เคยทิ้งโอกาสในการก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ท่านไม่เคยละทิ้งโอกาส แผนงานที่ละเอียด กลยุทธ์ในเชิงบวก และการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีอยู่ ท่านยังได้ย้ำเตือนบรรดาผู้ศรัทธาเสมอว่า "พวกเธอมีความสามารถ พวกเธอดีกว่า"[8]

แต่ในความหมายที่สองของความเชื่อมั่นตนเอง ขัดแย้งกับความไว้วางใจได้อย่างไร : ประเด็นตรงข้ามกับความไว้วางใจต่อพระเจ้า คือ การอาศัยสิ่งอื่นนอกเหนือจากพระเจ้า ได้แก่ การพึ่งพาอาศัย, การขึ้นอยู่กับการควบคุม และความเป็นอิสระของคนอื่น ความไม่มีอิสระเป็นของตัวเอง, การมอบความไว้วางใจต่อพระเจ้า ได้ช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นจากการพึ่งพิง การต้องอาศัย และมีความสัมพันธ์กับคนอื่น อันเป็นแหล่งที่มาของความอัปยศอดสูและการเป็นทาส การมอบหมายความไว้วางใจได้ให้เสรีภาพและความเชื่อมั่นในตัวเอง มีรายงานจากพระศาสดามูฮัมมัด (ซ็อล ) กล่าวว่า ฉันได้ถามญิบรออีลผู้นำวะฮฺยูว่า; ความไว้วางใจหมายถึงอะไร ? ตอบว่า  ความตระหนักถึงความจริงว่าบรรดาสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายไม่ให้คุณและไม่ให้โทษ ไม่เป็นอันตรายหรือสร้างความเสียหายแต่อย่างใด ถอดถอนสายตาไปจากมือและทรัพย์สินของคนอื่น! เมื่อบ่าวคนหนึ่งกระทำได้เช่นนี่ ดังนั้น เขาจะไม่กระทำเพื่อใครอื่นนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น เขาจะไม่มีความหวังกับผู้ใด! และเหล่านี้คือขอบเขตความจริงของความไว้วางใจ[9].

แหล่งข้อมูล :

1. อิมาม โคมัยนี (รฎ.), สี่สิบฮะดีซ, ชัรฮฺฮะดีซ 3 (อุจบ์), 4 (กิบร์), 10 (อำนาจฝ่ายต่ำ), 13 (ตะวักกัล), 20 (ความบริสุทธิ์ใจ)

2. เนญาต, มูฮัมมัด, อัลกุรอานและจิตวิทยา แปลโดยอาหรับอับบาซ, พิมพ์ที่ ออสตอนกุดส์ ระซะวีย์ (.), บทที่ 9 (บุคลิกภาพในกุรอาน), หน้า. 287

3. ชัรกอวีย์, ฮะซัน, ฆอมมี ฟะรอซูเยะ ระวอนชะนอซีย์ อิสลามมี, แปลโดย ซัยยิด มุฮัมมัด บากิร ฮุจญตีย์ พิมพ์เผยแพร่โดยศูนย์วัฒนธรรมอิสลาม, หมวดที่สาม วิธีการไปถึงสุขภาพจิตวิญญาณที่สมบูรณ์ และความสะอาดของสุขภาพจิต บทที่ 1, 4 และ 13 (บทที่ 14) การให้บริการด้านจิตวิทยาในหลากหลายวิธี, หน้า. 397-528



[1] มุสนัดอัชชะฮาบ เล่ม 1 หน้า 378

[2] เฆาะซาลีย์ นะซีฮะตุลมุลูก

[3]  อัลลามะฮฺ มัจญิลิส บิฮารุลอันวาร เล่ม 66 หน้า 79, บะฮฺรอนีย์ อะลี อิบนุ มัยซัม ชัรฮฺ มาอะฮฺ กะลิมะฮฺ หน้า 59

[4]  อิมามโคมัยนี ชัรฮฺ 40 ฮะดีซ หน้า 69 ฮะดีซที่ 3

[5] มะการิมชีรอซีย์ นาซิร พัยยอมกุรอาน เล่ม 3 หน้า 274

[6] มะการิมชีรอซีย์ นาซิร ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 10 หน้า 205

[7]  มะการิมชีรอซีย์ นาซิร ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 10 หน้า 297

[8] มะการิมชีรอซีย์ นาซิร ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 10 หน้า 297

[9] มะการิมชีรอซีย์ นาซิร ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 10 หน้า 298, บิฮารุลอันวาร เล่ม 71 หน้า 137 ฮะดีซที่ 23,มะอานิลอัคบาร หน้า 461

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    9016 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
    7062 تاريخ بزرگان 2554/06/11
    มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือฟิฎเฎาะฮ์ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี. ...
  • ขณะวุฎูอฺ แต่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จำเป็น, โดยมีบุคคลอื่นราดน้ำลงบนมือและแขนให้เรา ถือว่ามีปัญหาทางชัรอียฺหรือไม่?
    6222 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    วุฎูอฺ มีเงื่อนไขเฉพาะตัว ดังนั้น การไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง เป็นสาเหตุให้วุฎูอฺบาฏิล หนึ่งในเงื่อนไขของวุฎูอฺคือ การล้างหน้า มือทั้งสองข้าง การเช็ดศีรษะ และหลังเท้าทั้งสองข้าง ผู้วุฎูอฺ ต้องทำด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่น วุฎูอฺ ให้แก่เขา, หรือช่วยเขาราดน้ำที่ใบหน้า มือทั้งสองข้างแก่เขา หรือช่วยเช็ดศีรษะและหลังเท้าทั้งสองแก่เขา วุฎูอฺ บาฏิล[1] มีคำกล่าวว่า บรรดานักปราชญ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขนี้ ต่างกัน : 1.บางท่านแสดงทัศนะว่า : บุคคลต้อง วุฏูอฺ ด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่นช่วยเขาวุฎูอฺ ในลักษณะที่ว่าถ้าคนอื่นเห็นจะไม่พูดว่า บุคคลดังกล่าวกำลังวุฎูอฺ ถือว่าวุฏูอฺ บาฏิล
  • เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ และทำไมอิสลามจำกัดสิทธิสตรี?
    14991 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/21
    สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกันและการที่ควรได้รับความเสมอภาคทางสังคมอาทิเช่นการศึกษา, การแสดงความเห็น...ฯลฯอย่างไรก็ดีในแง่สรีระและอารมณ์กลับมีข้อแตกต่างหลายประการข้อแตกต่างเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดบทบัญญัติพิเศษอย่างเช่นการสวมฮิญาบในสังคมทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีความโดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงามแต่สุภาพบุรุษมีความโดดเด่นในแง่ผู้แสวงหาด้วยเหตุนี้จึงมีการเน้นย้ำให้สุภาพสตรีสงวนตนในที่สาธารณะมากกว่าสุภาพบุรุษทั้งนี้และทั้งนั้นหาได้หมายความว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแต่งกายเพียงสุภาพสตรีโดยที่สุภาพบุรุษไม่ต้องระมัดระวังใดๆไม่. ...
  • เนื่องจากชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
    8715 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/01
    ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นมีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไปอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวบารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอนอนึ่งเมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่าฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไปมิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี ...
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5874 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • การทำหมันแมวเพื่อป้องกันมิให้จรจัด แต่ก็มีผลกระทบไม่ดีด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ฮุกุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?
    8377 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน):
  • การที่ฝ่ายชีอะฮฺกล่าวว่า เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นมุรตัด หรือพวกเขาได้กลับสภาพเดิมหลังจากศาสดาได้จากไปหมายความว่าอะไร? คำกล่าวอ้างเช่นนี้ยอมรับได้หรือไม่?
    9327 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/08
    เหตุการณ์การบิดเบือน, โดยหลักการถือว่าเป็น บิดอะฮฺหรือเอรติดอด ซึ่งในหมู่สหายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลังจากที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป หนึ่ง, จากแหล่งอ้างอิงแน่นอนของอิสลาม ซึ่งจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอิสลามนั้นเป็นเหตุผลที่ยืนยันว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งมิได้มีกล่าวไว้แค่ตำราของฝ่ายชีอะฮฺเท่านั้น รายงานประเภท มุตะวาติร จำนวนมากมายที่กล่าวว่า พวกเขาได้ละทิ้งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีกล่าวไว้มากมายในหนังสือ ซิฮะฮฺ ทั้ง 6 เล่มของฝ่ายซุนนียฺ และตำราที่เชื่อถือได้เล่มอื่นของพวกเขา โดยมีการกล่าวอ้างสายรายงานที่แตกต่างกัน อีกนัยหนึ่ง มีคำกล่าวยืนยันที่สมควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งที่ว่า หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป มีเหล่าสหายจำนวนไม่น้อยได้ละเลยต่อแบบอย่าง และซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยหันไปสู่ศาสนาดั้งเดิมของต้นเอง และเนื่องด้วยการบิดเบือนดังกล่าวของพวกเขานั้นเอง ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้พวกเขาถูกกีดกันมิให้ดื่มน้ำจากสระน้ำเกาษัร และอีกถูกขับไล่ออกจากสระน้ำดังกล่าวอีกด้วย บรรดามะลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษจะลากพวกเขาไปยังขุมนรกของการลงโทษ สอง, เอรติดาด ได้ถูกกล่าวถึงในรายงานลักษณะอย่างนี้ ...
  • เข้ากันได้อย่างไร ระหว่างความดีและชั่ว กับความเป็นเอกะและความเมตตาของพระเจ้า?
    7073 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    1. โลกใบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม, ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้า 2 องค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า โลกมีพระเจ้า 2 องค์ ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากความจำกัดของโลกมีเพียงแค่ระบบเดียวที่เข้ากันและมีความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ของตนได้อย่างเสรี สรุปแล้วโลกใบนี้ต้องมีพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง 2.ความเมตตาปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งสิ่งนี้ได้กำหนดว่ามนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำทางไปสู่การพัฒนา และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และการต่อสู้ในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ...
  • ผมได้หมั้นหมายกับคู่หมั้นมานานเกือบ 10 ปี แล้วเราสามารถอ่านอักด์ชัรอียฺก่อนแต่งงานตามกฎหมายได้หรือไม่?
    6273 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    คำตอบจากบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ตามที่มีผู้ถามมา[1] ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ .. : 1. ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี : ด้วยการใส่ใจและตรวจสอบเงื่อนไขทางชัรอียฺแล้ว, โดยตัวของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 2.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซิตตานียฺ : การอ่านอักด์นิกาห์กับหญิงสาวบริสุทธิ์ต้องขออนุญาตบิดาของเธอก่อน 3.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟฟี ฆุลภัยฆอนียฺ : การแต่งงานของชายผู้ศรัทธากับหญิงผู้ศรัทธา มีเงื่อนไขหลักหลายประการ (เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นต้น) โดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหา แต่ถ้มีปัญหาอื่นจงเขียนคำถามมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบไปตามความเหมาะสม 4.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ : ตามตัวบทกฎหมายของรัฐอิสลาม, การแต่งงานลักษณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60080 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57470 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42162 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39260 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38906 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33967 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27980 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27902 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27728 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25741 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...