การค้นหาขั้นสูง

คลังคำตอบ(คำสำคัญ:บทกลอน)

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับฮูรุลอัยน์ และถามว่าจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสุภาพสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    11211 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/07/16
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.นอกจากนี้คำว่าฮูรุลอัยน์ยังสามารถใช้กับเพศชายและเพศหญิงได้ทำให้มีความหมายกว้างครอบคลุมคู่ครองทั้งหมดในสวรรค์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อคู่สาวสำหรับชายหนุ่มผู้ศรัทธาหรืออาจจะเป็นเนื้อคู่หนุ่มสำหรับหญิงสาวผู้ศรัทธา[i]นอกจากเนื้อคู่แล้วยังมี“ฆิลมาน”หรือบรรดาเด็กหนุ่มที่คอยรับใช้ชาวสวรรค์ทั้งชายและหญิงอีกด้วย[i]ดีดอเรย้อร(โลกหน้าในครรลองวะฮีย์),อ.มะการิมชีรอซี,หน้า
  • เมื่อพิจารณาโองการต่างๆ และรายงานฮะดีซแล้ว ช่วยชี้แนะด้วยว่าระหว่างเกียรติยศและความประเสริฐของอัลกุรอานกับอะฮฺลุลบัยตฺ สิ่งไหนสูงกว่ากัน?
    6394 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/21
    รายงานต่างๆจำนวนมากมายเช่นฮะดีซซะเกาะลัยนฺและอิตรัต, ได้ถูกแนะนำว่าเป็นสองสิ่งหนักที่มีความเสมอภาคกัน, ใช่แล้วบางรายงานฮะดีซเฉกเช่นสิ่งที่กล่าวไว้ในฮะดีซซะเกาะลัยนฺ
  • เพราะเหตุใดกอบีลจึงสังหารฮาบีล?
    10141 วิทยาการกุรอาน 2554/06/22
    จากโองการอัลกุรอานเข้าใจได้ว่าสาเหตุที่กอบีลได้สังหารฮาบีลเนื่องจากมีความอิจฉาริษยาหรือไฟแห่งความอิจฉาได้ลุกโชติช่วงภายในจิตใจของกอบีลและในที่สุดเขาได้สังหารฮาบีลอย่างอธรรม ...
  • มีหลักฐานระบุว่าควรกล่าวตักบี้รและหันหน้าซ้ายขวาหลังกล่าวสลามหรือไม่?
    5947 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/19
    การผินหน้าไปทางขวาและซ้าย ถือเป็นมุสตะฮับภายหลังให้สลามสุดท้ายของนมาซ โดยตำราฮะดีษก็ให้การยืนยันถึงเรื่องนี้  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:1. ในกรณีของอิมามญะมาอัต ภายหลังให้สลามแล้ว ก่อนที่จะผินหน้าขวาซ้าย ให้มองไปทางขวาก่อน2. ในกรณีของมะอ์มูม ให้กล่าวสลามแก่อิมามขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ หลังจากนั้นจึงให้สลามทางด้านขวาและซ้าย ทั้งนี้ การสลามด้านซ้ายจะกระทำต่อเมื่อมีมะอ์มูมหรือมีกำแพงอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะกระทำทุกกรณี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมะอ์มูมด้านขวาก็ตาม3. ในกรณีที่นมาซฟุรอดา (คนเดียว) ให้กล่าวสลามครั้งเดียวขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ว่า อัสลามุอลัยกุม และหันด้านขวาในลักษณะที่ปลายจมูกเบนไปด้านขวาเล็กน้อย[1]จากที่นำเสนอมาทั้งหมด ทำให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่เป็นมุสตะฮับสำหรับผู้ที่นมาซคนเดียวก็คือการเบนหน้าไปทางขวาให้ปลายจมูกหันทางขวาเล็กน้อย และสำหรับผู้ที่นมาซญะมาอัต ...
  • ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยมีอาจารย์ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บ้างหรือไม่?
    6643 تاريخ کلام 2555/02/18
    หนึ่ง. ประเด็นนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)ล้วนมีความรู้ครอบคลุมทุกแขนงวิชาการอยู่แล้ว[1] ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาวิชาการอย่างวิชาฮะดีษจากผู้อื่น ในทางกลับกัน ผู้นำฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางท่านเคยเป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านทั้งทางตรงหรือทางอ้อม อาทิเช่น อบูฮะนีฟะฮ์ และมาลิก บิน อนัส[2]
  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8700 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6834 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...
  • มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
    9919 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น1.เตาบะฮ์หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัคและทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    14885 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5550 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59719 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57081 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41900 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38738 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38594 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33716 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27694 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27516 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27345 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25407 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...